งานวิทยานิพนธ์

งานวิทยานิพนธ์ คือ

วิทยานิพนธ์ หรือชื่อที่เราคุ้นเคยอีกอย่างหนึ่งว่า thesis นั่นเอง!! อาจกล่าวได้ว่าวิทยานิพนธ์เป็นผลงานหนึ่งของผู้ที่กำลังจะจบการศึกษาทุกคนจะต้องจัดทำขึ้น เพื่อวัดความรู้ความสามารถจากสิ่งที่ได้รับจากการศึกษาตลอดหลักสูตรที่ได้เรียนมา อีกทั้งผู้ที่จัดทำวิทยานิพนธ์อีกกลุ่มหนึ่งที่จะต้องจัดทำผลงานเช่นกันจะเป็นกลุ่มนักวิจัย หรือนักวิชาการต่างๆ ที่จะต้องจัดทำวิทยานิพนธ์เพื่อใช้เลื่อนขั้น เลื่อนตำแหน่งปรับฐานเงินเดือนของตนเอง วิทยานิพนธ์ในความหมายของบทความนี้จึงเป็นงานวิจัยทางด้านวิชาการที่ได้มีการไตร่ตรอง หรือมีการวางแผน ผ่านงานวิทยานิพนธ์ออกมาอย่างมีรูปแบบ และเป็นระเบียบแบบแผน โดยผู้วิจัยได้มีการนำทฤษฎีทั้งในและต่างประเทศมาผ่านกระบวนการคิดวิเคราะห์ ตามขั้นตอน วิธีการ ในการรวบรวมข้อมูลต่างๆ และอ้างอิงตามหลักการ ของการทำวิทยานิพนธ์ จนได้ข้อมูลที่มีความน่าเชื่อถือ ซึ่งขั้นตอนต่างๆ ที่กล่าวมานั้นต้องจัดทำเพื่อเป็นการหาคำตอบของคำถามในงานวิจัย ในการนำมาสนับสนุนหรือยืนยันทฤษฎีที่ตนเองได้กล่าวสรุปในงานวิจัย อีกทั้งเมื่อจัดทำวิทยานิพนธ์สำเร็จ จะถือว่างานชิ้นนั้นเป็นเกียรติคุณของผู้จัดทำที่ได้เสียสละเวลาและมุ่งมั่นในการจัดทำวิทยานิพนธ์ เพื่อคิดค้นสิ่งใหม่ หรือเป็นใบเบิกทางในสายอาชีพต่างๆ ที่ผู้วิจัยสนใจในอนาคต และต้องการจะค้นคว้าหาข้อมูลในเรื่องที่ตัวเองสนใจ

ผู้เขียนจึงอยากจะอธิบายส่วนประกอบสำคัญในการทำวิทยานิพนธ์ให้ผู้อ่าน ได้นำไปตรวจสอบวิทยานิพนธ์ของท่านว่ามีองค์ประกอบครบตามหลักการทำวิทยานิพนธ์หรือไม่ ซึ่งหากมีสิ่งใดขาดหายไปท่านจะได้นำมาเพิ่มเติมเพื่อให้งานวิทยานิพนธ์ของท่านมีความสมบูรณ์มากยิ่งขึ้น

ส่วนประกอบที่สำคัญในการทำวิทยานิพนธ์

ภาพจาก www.Pixabay.com

ในการที่จะทำวิทยานิพนธ์จะมีส่วนประกอบหลักๆ ด้วยกันทั้งหมด 3 ส่วน ได้แก่ ส่วนนำ ส่วนของเนื้อหา และส่วนท้าย โดยเนื้อหาส่วนใหญ่จะต้องควรมีอย่างน้อย 50 หน้า ซึ่งสามารอธิบายรายละเอียดได้ดังต่อไปนี้

1.ส่วนนำ จะมีองค์ประกอบดังนี้

ปกนอก องค์ประกอบของปกนอกจะประกอบไปด้วย 3 ส่วน  ส่วนที่ 1 จะบอกถึงชื่อวิทยานิพนธ์ทั้งภาษาไทย และภาษาอังกฤษ ส่วนที่ 2 ชื่อผู้จัดทำเป็นภาษาไทย ส่วนที่ 3 บอกถึงคำจำกัดความของวิทยานิพนธ์

ปกใน จะมีลักษณะของปกคล้ายๆ กับปกนอก ตัวอักษรสีดำ โดยมีข้อความเหมือนปกนอก แต่ในการจัดพิมพ์จะใช้ระยะห่างจากขอบกระดาษแบบเดียวกับการพิมพ์รายงาน

ใบรับรองผลสอบวิทยานิพนธ์ ในเล่มจะมีการแนบใบรับรองผลการสอบเข้าไปในเล่มด้วย

บทคัดย่อ มีทั้งภาษาไทย และอังกฤษควรที่จะทำแยกหน้ากัน มีส่วนประกอบอยู่ 2 ส่วน คือ ส่วนที่ 1 เป็นส่วนประกอบที่บอกถึงข้อมูลในการจัดทำวิทยานิพนธ์บอกถึงชื่อหัวข้อผู้จัดทำ หลักสูตร ปีการศึกษาที่จัดทำ อาจารย์ที่ปรึกษา ส่วนที่ 2 เป็นส่วนที่บรรยายถึงภาพรวมของวิทยานิพนธ์ที่ได้จัดทำทั้งหมดรวมถึงผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น เพื่อให้ผู้ที่สนใจในงานวิจัยได้อ่านทำความเข้าใจ 

กิตติกรรมประกาศ เป็นส่วนที่เขียนเพื่อเป็นการให้เกียรติ หรือขอบคุณแก่ผู้ที่ให้การสนับสนุนช่วยเหลือ

สารบัญ สารบัญรูปภาพ และสารบัญตาราง เป็นส่วนที่บอกตำแหน่งหน้าของหัวข้อ รูปภาพ และตารางในงานโดยเรียงตามลำดับหัวข้อ

2.ส่วนเนื้อหา  จะประกอบไปด้วย

บทที่ 1 บทนำ เป็นการนำเสนอ เพื่อให้ผู้อ่านได้ทราบว่ามีความเป็นมา และความสำคัญอย่างไร แนวทางในการทำ วัตถุประสงค์ ขอบเขตของงาน เพื่อให้ผู้อ่านสามารถมองภาพรวมได้เบื้องต้น

บทที่ 2 ทฤษฎี และงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง เป็นการอธิบาย พื้นฐาน หรือทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง ที่ผู้อ่านต้องรู้ หรือเข้าใจก่อนที่จะอ่านเนื้อหาในบทต่อไป

บทที่ 3 ระเบียบการวิจัย อธิบายองค์ประกอบที่เกี่ยวข้องทั้งหมด ในการศึกษาค้นคว้า

บทที่ 4 ผลการทดลอง หรือผลการศึกษา บทนี้จะเป็นบทที่นำเสนอสิ่งที่ผู้วิจัยได้ค้นพบเพื่อยืนยันว่าสิ่งที่ทำขึ้นนั้นบรรลุวัตถุประสงค์หรือไม่

บทที่ 5 สรุปผลการวิจัย อภิปรายผล และข้อเสนอแนะ เป็นการสรุปการดำเนินงานทั้งหมดที่ผ่านมาว่าตรงตามวัตถุประสงค์หรือไม่ มีการอภิปรายผลโดยนำงานวิจัยที่เกี่ยวข้องที่ได้ศึกษามาวิเคราะห์สอดคล้องกับผลการศึกษา และอาจมีข้อเสนอแนะในการที่จะสามารถต่อยอดงานในอนาคต

3.ส่วนท้าย จะประกอบไปด้วย

เอกสารอ้างอิง หมายถึง รายชื่อหนังสือ วารสาร เอกสาร หนังสือ สิ่งพิมพ์อื่นๆ โสตทัศนวัสดุ 

ภาคผนวก เป็นส่วนประกอบที่เพิ่มเข้ามาเพื่อทำให้งานสมบูรณ์มากขึ้น

ผลการวิเคราะห์ จะเป็นการแนบตัวผลงานที่ผู้วิจัยวิเคราะห์ผ่านโปรแกรมสถิติสำเร็จรูป หรือบทสัมภาษณ์ที่ผู้วิจัยได้ไปสัมภาษณ์ หรือรูปภาพระหว่างการจัดทำวิทยานิพนธ์ เพื่อแสดงสิ่งที่ผู้วิจัยได้จัดทำมาทั้งหมด

อาจสรุปได้ว่าในการที่จะทำให้วิทยานิพนธ์ของผู้วิจัยให้สมบูรณ์ ผู้วิจัยควรที่จะมีการตรวจความถูกต้องของเนื้อหาว่ามีการวิเคราะห์ในแง่มุมเชิงวิชาการ มีการนำเสนอที่เข้าใจง่าย มีการใช้ภาษาที่ถูกต้องสวยงามตามหลักไวยากรณ์ มีการนำเสนอข้อมูลที่ลึกซึ้งเป็นแผนภาพ ตาราง หรือกราฟ และส่งเสริมให้มีการขยายผลของการศึกษาหรือต่อยอดวิทยานิพนธ์ได้ในภายหลัง ได้หรือไม่

ช่องทางติดต่อ
Tel: 0924766638 คุณอาจุ้ย
อีเมล: ichalermlarp@gmail.com
LINE: @impressedu
(หยุดทุกวันอาทิตย์)

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *