การวิเคราะห์ข้อมูล

5 เทคนิคหลักการวิเคราะห์ข้อมูล ทำอย่างไรให้เสร็จไว จบง่าย

ภาพจาก pexels.com

การวิเคราะห์ข้อมูลจัดเป็นส่วนหนึ่งในการทำวิจัย เป็นการนำเอาข้อมูลต่างๆ ที่รวบรวมได้จากการเก็บรวบรวมข้อมูลมาทำการวิเคราะห์ จัดระเบียบ แยกแยะส่วนต่างๆ เพื่อหาคำตอบตามประเด็นปัญหาการวิจัย และตามสมมุติฐานที่ได้กำหนดไว้ อาจกล่าวได้ว่าการวิเคราะห์ข้อมูลมุ่งเน้นไปที่วิธีการเชิงกลยุทธ์ โดยมีการรับข้อมูลดิบไปวิเคราะห์ เพื่อให้ข้อมูลที่แสดงออกมาในสายตาผู้อ่าน มีความเข้าใจข้อมูลที่ผู้วิจัยต้องการจะสื่อมากขึ้น ดังนั้นการวิเคราะห์ข้อมูลควรที่จะมีเทคนิคในการทำเพื่อที่จะได้ประหยัดเวลาในการวิเคราะห์ และเข้าใจในการวิเคราะห์ข้อมูลให้มากขึ้นจากการรวมเทคนิคไว้ 5 เทคนิคด้วยกัน ดังนี้

1. เลือกใช้สถิติในการวิจัยที่ไม่ต้องยากจนเกินไป 

เนื่องจากในปัจจุบันการวิเคราะห์ข้อมูล สถิติมีความหลากหลาย โดยมีทั้งสถิติระดับง่าย ระดับกลาง และระดับสูง หรือสถิติบางตัวอาจต้องใช้โปรแกรมอื่นร่วมด้วย จนทำให้ผู้วิจัยโฟกัสการทำวิทยานิพนธ์ผิดจุด ไปเน้นการวิเคราะห์สถิติแปลกใหม่ ให้ดูว่างานวิจัยของท่านนั้นมีการวิเคราะห์สถิติระดับสูง หรือไม่ผูู้วิจัยบางท่านก็อาจมีท้อไปเลยก็มี เพราะนอกจากจะเหนื่อยในการจัดระเบียบ แยกแยะส่วนต่างๆ ของข้อมูลแล้ว ยังต้องมาศึกษาสถิติที่ท่านไม่รู้จัก ซึ่งผู้เขียนมีความคิดเห็นว่าสถิติในการวิจัยบางครั้งไม่จำเป็นต้องใช้สถิติขั้นสูงก็ได้ เพียงแค่ใช้สถิติที่สามารถตอบโจทย์วัตถุประสงค์ของงานได้ และสามารถวิเคราะห์ข้อมูลออกให้ผู้อ่านเข้าใจได้ง่าย ก็ถือว่าเป็นการบรรลุวัตถุุประสงค์ของการทำวิจัยแล้ว ในทางตรงกันข้ามหากผู้วิจัยใช้สถิติขั้นสูง อย่างเช่น SEM หรือ AMOS ซึ่งต้องใช้โปรแกรมอื่นเข้ามาใช้ในการวิเคราะห์และสร้างโมเดลร่วมด้วย นอกจากผู้อ่านผลงานจะไม่เข้าใจแล้ว ผู้อ่านจะไม่สนใจงานวิจัยของเราด้วย

2. ใช้เทคโนโลยีเข้ามาช่วยในการทำงาน

สำหรับการวิเคราะห์ข้อมูล ในปัจจุบันเราได้นำเอาเทคโนโลยีเข้ามาช่วยในการสร้างและแชร์แบบสอบถามออนไลน์ ผ่านแพลตฟอร์ม Google Forms ทำให้การวิเคราะห์ข้อมูลของเรารวดเร็วยิ่งขึ้น ผู้ตอบแบบสอบถามสามารถตอบได้พร้อมกันภายในครั้งเดียวภายในเวลาไม่กี่นาที อีกทั้งผู้วิจัยสามารถดูข้อมูลคำตอบได้แบบเรียลไทม์อีกด้วย ไม่ว่าจะตอบแบบสอบถามทางมือถือ แท็บเล็ต หรือคอมพิวเตอร์ ซึ่งแตกต่างกับการวิเคราะห์ข้อมูลที่ผ่านมา ที่ต้องสร้างแบบสอบถามขึ้นมา หลังจากนั้นนำมาถ่ายเอกสารตามจำนวนกลุ่มตัวอย่าง และต้องจ้างคนหลายคนไปช่วยเก็บแบบสอบถามตามพื้นที่ ที่ผู้วิจัยศึกษา ซึ่งการทำงานในลักษณะนี้ ผู้เขียนถือเป็นว่าเสียเวลามากในการทำงานเพราะต้องใช้เวลาหลายวัน ผู้วิจัยบางท่านใช้เวลาเป็นเดือนในการทำสิ่งนี้ นอกจากเสียเวลาแล้วยังเสียค่าใช้จ่ายต่างๆ มากมาย อาทิเช่น ค่าถ่ายเอกสาร ค่าจ้างพนักงานเดินเก็บข้อมูลเป็นรายชุด ค่ากรอกแบบสอบถาม เป็นต้น หากผู้วิจัยหันมาใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีดังกล่าวซึ่งเป็นแพลตฟอร์มที่เปิดให้ใช้ฟรี จะช่วยให้ลดเวลาการทำงานได้อย่างมหาศาล และจะทำให้งานเสร็จ จบง่าย ตามที่ได้ตั้งเป้าหมายไว้ด้วย

ภาพจาก google.com
ภาพจาก google.com
ภาพจาก google.com

3. การจัดระเบียบความคิดของผู้วิจัย

การจัดระเบียบความคิดของผู้วิจัยนี้ มีความสำคัญมากกว่าการเลือกใช้เครื่องมือเสียอีก หากผู้วิจัยมีการวางแผนก่อนการทำงาน มีจัดระเบียบการทำงานว่าส่วนไหนทำก่อน-หลัง และทำตามเป้าหมายที่ได้วางไว้ไปตามลำดับขั้นตอน ผู้วิจัยจะสามารถวิเคราะห์ข้อมูลได้อย่างรวดเร็วขึ้นมากค่ะ ในทางตรงกันข้ามหากผู้วิจัยไม่จัดระเบียบความคิด ท่านจะละเลยการทำสิ่งนั้น และไปทำสิ่งอื่นก่อนที่ไม่ใช่งาน ก็จะส่งผลให้การวิเคราะห์ ไม่เสร็จตามแผนที่ได้วางไว้ก่อนหน้า

4. เข้าหาคนที่มีความเชี่ยวชาญมากกว่าเรา

การเข้าหาคนที่มีความเชี่ยวชาญมากกว่าไม่ได้ทำให้ผู้วิจัยดูแย่ หรือไม่มีความรู้ในเรื่องนั้น โดยเฉพาะการเข้าหาที่ปรึกษา มีผู้วิจัยหลายท่านไม่กล้าเข้าหาที่ปรึกษา เพราะกลัวว่าที่ปรึกษาจะดุ จนทำให้ผู้วิจัยละเลยการทำวิจัย จนปล่อยระยะเวลาเนิ่มนานเป็นปี ทำให้งานไม่เสร็จเสียที แต่ท่านรู้หรือไม่ว่าการเข้าหาคนที่มีความเชี่ยวชาญหรือที่ปรึกษาบ่อยๆ นั้น จะทำให้ท่านได้รับความรู้เพิ่มเติม และที่ปรึกษาจะคอยแนะนำแนวทาง หรือเทคนิคต่าง ผู้วิจัยควรทำในการวิเคราะห์ข้อมูลให้เสร็จไวขึ้นได้ค่ะ

5. หาความรู้ ที่ใช้เป็นเทคนิคในการวิเคราะห์ข้อมูลเพิ่มเติม 

กากรหาความรู้ เพื่อที่จะนำมาใช้ ถือเป็นพื้นฐานของการวิเคราะห์ข้อมูลว่าผูู้วิจัยนั้นมีความรู้มากน้อยเพียงพอสำหรับนำความรู้นั้นมาช่วยในการวิเคราะห์ข้อมูลหรือไม่ ดังนั้นการวิเคราะห์ข้อมูลจะไม่สมเหตุสมผลเลย หากยังขาดความรู้ความเข้าใจในเรื่องนั้น ผู้วิจัยจึงจำเป็นที่จะต้องมีความรู้ที่เกี่ยวข้องเข้ามาเป็นองค์ประกอบในการวิเคราะห์ เช่น การศึกษาข้อมูลการวิเคราะห์ข้อมูลจาก Youtube จากบทความต่างๆ ซึ่งในคลิปหรือบทความเหล่านั้นจะมีเทคนิคต่างๆ ที่จะทำให้การวิเคราะห์ข้อมูลของท่านเสร็จไว และจบง่ายตามจุดประสงค์ของท่าน

ภาพจาก pexels.com

ทั้งนี้เทคนิคการวิเคราะห์ข้อมูลที่กล่าวมาจะเป็นส่วนที่เข้าไปช่วยเสริมในการวิเคราะห์ข้อมูลให้ของคุณให้เสร็จทันตามเวลาที่กำหนดอย่างแน่นอน และขอแนะนำว่าให้คุณย้อนกลับไปอ่านจุดมุ่งหมายหัวข้อการเลือกข้อมูลที่ได้มา แล้วนำมาจัดหมวดหมู่ จะทำให้การวิเคราะห์ข้อมูลของคุณมีความชัดเจนน่าสนใจเป็นที่น่าจับตามองของคนอ่านมากยิ่งขึ้น

ช่องทางติดต่อ
Tel: 0924766638 คุณอาจุ้ย
อีเมล: ichalermlarp@gmail.com
LINE: @impressedu
(หยุดทุกวันอาทิตย์)

Related posts:

5 ข้อผิดพลาดของการทำวิทยานิพนธ์ ที่คุณสามารถหลีกเลี่ยงได้
จะทำอย่างไรให้เข้าใจหลักกระบวนการปรับโมเดล SEM ทั้งๆ ที่พยายามหาตำราสอนตั้งมากมาย แต่ก็ไม่ค่อยมีผู้ใ...
การวางแผนการทำวิจัยที่มีประสิทธิภาพสำหรับนักศึกษาปริญญาตรี
3 เคล็ดลับในการเขียน Proposal งานวิจัยฉบับมืออาชีพ
กลยุทธ์ในการสื่อสารผลการวิจัยไปยังผู้ชมที่หลากหลายอย่างมีประสิทธิภาพ
ความสำคัญของการใช้การอภิปรายเพื่อเชื่อมโยงผลการวิจัยกับคำถามหรือปัญหาการวิจัย
ความสำคัญของการใช้คำศัพท์การวิจัยที่เหมาะสมในการทบทวนวรรณกรรม 
ตัวอย่างวรรณกรรม หรือทฤษฎีที่สอดคล้องกับงานวิจัยที่เกี่ยวกับ การเป็นผู้บริหารในยุคดิจิตอล

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *