บริการรับทำวิจัย_รับทำวิจัย_การทำงานวิจัย_งานวิจัย_ข้อมูลงานวิจัย_จ้างทำวิจัย 5 บท_รับทำวิทยานิพนธ์_รับทำวิทยานิพนธ์ ราคา_บริการรับทำวิจัย.com_งานวิจัย คุณภาพ_ทำงานวิจัย_เคล็ดลับการทำงานวิจัย_บริการงานวิจัย_บริการรับทำวิจัย_รับทำวิจัย ราคา_บริการงานวิทยานิพนธ์_บริการรับทำวิทยานิพนธ์_รับทำวิทยานิพนธ์ ราคา_รับทำวิทยานิพนธ์_การทำงานวิทยานิพนธ์_งานวิทยานิพนธ์_บริการงานดุษฎีนิพนธ์_บริการรับทำดุษฎีนิพนธ์_รับทำดุษฎีนิพนธ์ ราคา_รับทำดุษฎีนิพนธ์_การทำงานดุษฎีนิพนธ์_งานดุษฎีนิพนธ์_เทคนิคทำงานวิจัย_ปัญหางานวิจัย_ข้อผิดพลาดในการทำวิจัย_กำหนดปัญหางานวิจัย_การเลือกหัวข้องานวิจัย_การทำวิทยานิพนธ์ปริญญาโท_วิทยานิพนธ์ป. โท_การเขียนวัตถุประสงค์การวิจัย_วัตถุประสงค์การวิจัย_หัวข้องานวิทยานิพนธ์_หัวข้องานวิจัย_หัวข้องานดุษฎีนิพนธ์_หัวข้อวิจัย การท่องเที่ยว_วิจัยหัวข้อ_งานวิจัยปริญญาตรี_งานวิจัยปริญญาโท_การทำ IS_การทำสารนิพนธ์_ทักษะการทำงานวิจัย_ทักษะพื้นฐานงานวิจัย_วิจัยการตลาด_บทคัดย่อ (Abstract) _การเขียนบทคัดย่อ_การเขียนบทความ_การทำโปรเจคจบ_โปรเจคจบ

ถ้าอยากทำงานวิจัยให้สำเร็จ ทำตาม 10 ขั้นตอนนี้

ในบทความนี้เราจะมาแนะนำ และช่วยจัดลำดับความสำคัญสำหรับการทำงานวิจัย  10 ลำดับความสำคัญสำหรับงานวิจัย เพื่อใช้เป็นแนวทางในการปรับใช้สำหรับการทำงานวิจัยของคุณให้มีคุณภาพ และสำเร็จได้เร็วขึ้น

พบกับ 10 ลำดับขั้นตอนความสำคัญในการทำงานวิจัยให้สำเร็จได้เร็วขึ้น…

1. กำหนดเนื้อหางานวิจัยจากสิ่งที่สนใจทำการศึกษา

เริ่มจากการกำหนดเนื้อหางานวิจัยจากเรื่องที่คุณสนใจก่อน เพราะจะทำให้คุณสามารถทำการกำหนดเนื้อหา ขอบเขตหรือขอบข่ายของงานวิจัยนั้นๆ ให้มีความชัดเจน และง่ายยิ่งขึ้น

2. ศึกษาค้นคว้าแนวคิด ทฤษฎีจากงานวิจัยเกี่ยวข้อง เพื่อนำมาพัฒนาต่อยอด

ศึกษาจากงานวิจัยที่มีผู้วิจัยศึกษาค้นคว้าสำเร็จแล้ว อ่านและวิเคราะห์แนวคิด ทฤษฎีที่เกี่ยวข้องจากงานวิจัยเล่มนั้นๆ ว่าสามารถนำมาพัฒนา ต่อยอดงานวิจัยของผู้วิจัยได้หรือไม่ มีการทดลองและแหล่งที่มาในการตรวจสอบที่ชัดเจน มีการกำหนดตัวแปรใดบ้างที่นำมาใช้ในการทดสอบงานวิจัยได้จริง สามารถช่วยผู้วิจัยมองเห็นปัญหางานวิจัยนั้นๆ ได้อย่างชัดเจน

3. หัวข้อเรื่องวิจัย 

“หัวข้อ” เป็นสิ่งแรกที่ทำให้ผู้อ่านเกิดความสนใจในงานวิจัยของคุณ ดังนั้น หัวข้อเรื่องวิจัยจะต้องมีความกระชับและชัดเจน สามารถอธิบายถึงปัญหาและสิ่งที่จะส่งผลต่องานวิจัยได้

4. ตั้งสมมติฐาน

“สมมติฐาน” คือ การคาดคะเนคำตอบที่ใช้สำหรับตอบคำถามของปัญหางานวิจัย ว่าควรจะเป็นไปในทิศทางใด โดยอ้างอิงจากหลักการและแนวคิดจากทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับงานวิจัยที่ศึกษา ว่าสมมติฐานที่ตั้งไว้นั้นมีความสอดคล้อง และสมเหตุสมผลมากน้อยเพียงใด 

5. แหล่งที่มาของข้อมูลที่ชัดเจน

แหล่งที่มาของข้อมูลงานวิจัย หรือแหล่งอ้างอิงที่มีความน่าเชื่อถือ จะต้องเป็นแหล่งข้อมูลที่ชัดเจน มีความสอดคล้องกับเนื้อหางานวิจัย ว่างานวิจัยเรื่องนี้ศึกษาเกี่ยวกับอะไร ข้อมูลที่ใช้ในการทำงานวิจัยมีความน่าเชื่อถือมากพอหรือไม่ แหล่งข้อมูลอยู่ที่ไหน กลุ่มตัวอย่างเป็นใคร มีขั้นตอนการเก็บข้อมูลอย่างไร และเลือกกลุ่มตัวอย่างโดยวิธีใด เป็นต้น 

6. สร้างเครื่องมือที่จะใช้ในงานวิจัย

การจัดเตรียมเครื่องมือที่ใช้ในการจัดเก็บรวบรวมข้อมูลงานวิจัย จะพิจารณาจากรูปแบบของงานวิจัย และความต้องการประเภทของข้อมูลที่ใช้ในงานวิจัยเป็นสำคัญ โดยผู้วิจัยจะทำการกำหนดและเลือกเครื่องมือให้เหมาะสมกับงานวิจัยให้ได้มากที่สุด

ซึ่งก่อนนำไปใช้จริง ผู้วิจัยควรทำการตรวจสอบคุณภาพของเครื่องมือ ว่ามีประสิทธิภาพและมีความเที่ยงตรงสำหรับใช้ในงานวิจัย โดยทดลองกับกลุ่มย่อยๆ (Pilot study) เพื่อหาข้อบกพร่อง และปัญหา และเป็นการประเมินงานวิจัยเบื้องต้นว่าจะมีคุณค่า คุ้มกับเวลา ค่าใช้จ่าย ในการใช้เครื่องมือนั้นในการทดสอบงานวิจัยหรือไม่

7. การเก็บรวบรวมข้อมูล

การเก็บรวบรวมข้อมูล คือ เป็นขั้นตอนการลงมือปฏิบัติจริง โดยการใช้เครื่องมือที่ได้ทำการออกแบบและผ่านการทดสอบแล้ว นำไปใช้กับกลุ่มตัวอย่างจริงๆ ที่ได้กำหนดไว้ในงานวิจัย 

8. การวิเคราะห์แปลผลข้อมูล

นำข้อมูลที่เก็บรวบรวมจากกลุ่มตัวอย่าง นำมาทำการจัดประเภทข้อมูล จัดหมวดหมู่ของข้อมูล เพื่อสะดวกต่อการที่จะนำไปวิเคราะห์แปลผลข้อมูลและนำไปตรวจสอบสมมติฐาน ก่อนการเข้ากระบวนการวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติ และทำการเรียบเรียงผลออกมาในรูปแบบของตาราง เพื่อใช้ในการสรุปผลในรายงานการวิจัย

9. สรุปผลการวิเคราะห์ข้อมูล

สรุปเนื้อหาข้อมูลที่ได้จากการวิเคราะห์แปลผล ซึ่งการสรุปตีความหมายข้อมูลแบ่งออกเป็น 2 วิธี คือ

– การสรุปผลการวิเคราะห์ข้อมูลที่ได้จากงานวิจัยเท่านั้น โดยไม่นำข้อคิดเห็นส่วนตัว หรือทฤษฎีจากผลการวิจัยที่เกี่ยวข้องมาประกอบข้อสรุป คือการนำเฉพาะข้อมูลตัวเลข หรือผลการวิจัยที่ได้จากการวิเคราะห์ข้อมูลเท่านั้นเป็นสิ่งแสดงข้อเท็จจริง โดยให้ผู้อ่าน หรือผู้ที่มีความสนใจศึกษาข้อมูลต่อเป็นผู้พิจารณาเอง

– การสรุปผลการวิเคราะห์ข้อมูลโดยสอดแทรกความคิดเห็น คือการนำข้อเสนอแนะจากการอ้างอิงของทฤษฎี และผลการวิเคราะห์งานวิจัยที่เกี่ยวข้องมาประกอบเข้ากับผลของการวิเคราะห์ที่ได้จากการวิจัยครั้งนี้ ซึ่งสามารถช่วยให้ผลการวิเคราะห์ข้อมูลของงานวิจัยนั้นๆ มีความน่าเชื่อถือมากยิ่งขึ้น 

10. การเขียนรายงานการวิจัยและการจัดพิมพ์

การเรียบเรียงข้อมูลรายงานข้อเท็จจริงที่ค้นพบในการทำงานวิจัยเพื่อประโยชน์ต่อตนเองและผู้อื่น ผู้วิจัยจะต้องทำการเรียบเรียงเนื้อหาด้วยภาษาที่เข้าใจง่าย ชัดเจน กระชับ และรัดกุม จากนั้นทำการตรวจสอบความถูกต้องของเนื้อหา รูปแบบของงานวิจัยอีกครั้งหนึ่งก่อนทำการจัดพิมพ์ต่อไป 

จาก 10 ลำดับความสำคัญในการทำงานวิจัย ที่ทางเราได้นำเสนอไปนั้น ทางเราหวังว่าจะช่วยให้ผู้วิจัยสามารถนำไปปรับใช้ ในการวางแผนสำหรับการทำงานวิจัยให้รอบคอบ โดยการกำหนดเวลาของการทำงานแต่ละขั้นให้ชัดเจน จัดลำดับงานความสำคัญ ในขั้นตอนที่จะต้องทำก่อน-หลังไว้ในแผนการทำงานวิจัย เป็นการตั้งเป้าหมายในการทำงานวิจัยให้ทันตามเวลาที่กำหนดไว้ เพื่อให้งานวิจัยเสร็จตามกำหนดเวลาที่ต้องการ และมีคุณภาพมากที่สุด

ช่องทางติดต่อ
Tel: 0924766638 คุณอาจุ้ย
อีเมล: ichalermlarp@gmail.com
LINE: @impressedu
(หยุดทุกวันอาทิตย์)

Related posts:

ตั้งคำถามการวิจัยอย่างไร ให้ได้ผลลัพธ์ที่ดี
หางานวิจัยที่เกี่ยวข้องไม่เจอ ต้องทำอย่างไร
การสร้างนวัตกรรมของงานวิจัยครู ทำอย่างไร มีวิธีการทำงานอย่างไรบ้าง พร้อมตัวอย่างนวัตกรรม
คำเตือน: ความผิดพลาดทั้ง 9 ประการนี้จะทำลายเว็บไซต์ค้นหางานวิจัยของคุณ
บทบาทของการทดสอบทางสถิติในการพิจารณาความถูกต้องของผลการวิจัย
บทบาทของวิทยานิพนธ์ในการสังเคราะห์และบูรณาการความรู้ที่มีอยู่ในสาขาวิชาที่ได้ศึกษา
เขียนบทนำ รวมถึงการทบทวนวรรณกรรมและภูมิหลังในหัวข้อของคุณ
เว็บไซต์ที่ใช้ตรวจสอบลิขสิทธิ์รูปภาพในการเขียนหนังสือขอตำแหน่งทางวิชาการ หรือหนังสือตำราวิชาการ

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *