การออกแบบ แบบสอบถาม_แบบสอบถามความพึงพอใจ_ตั้งคำถามแบบสอบถาม_เทคนิคการสร้างแบบสอบถาม_แบบสอบถามวิจัย_แบบสอบถามงานวิจัย_วิเคราะห์ข้อมูลสถิติ_การวิเคราะห์ข้อมูล_สถิติการวิเคราะห์_วิเคราะห์ spss_โปรแกรม spss_สถิติ t – test แตกต่าง_Save ข้อมูล SPSS_ความแปรปรวนระหว่างกลุ่ม_ความแปรปรวนภายในกลุ่ม_วิเคราะห์ ANOVA_การวิเคราะห์ ANOVA_ One Way ANOVA_บริการรับทำวิจัย_รับทำวิจัย_การทำงานวิจัย_บริการรับทำวิจัย.com_การทำ spss_รับคีย์ข้อมูลแบบสอบถาม หน้าละ 1.50 บาท_รับคีย์ข้อมูลแบบสอบถาม_สถิติ t – test_สร้างแบบสอบถามงานวิจัย_การสร้างแบบสอบถาม

การสร้างแบบสอบถามงานวิจัย ไม่ยากอย่างที่คิด!

แบบสอบถามงานวิจัย เป็นเครื่องมือการวิจัยอย่างหนึ่ง ที่ประกอบไปด้วยชุดคำถาม ที่เกี่ยวกับข้อเท็จจริง ความคิดเห็น ความรู้สึก ความเชื่อ และความสนใจต่างๆ ที่เตรียมไว้สำหรับให้ผู้ตอบแบบสอบถามได้เลือกตอบหรือเติมคำ เพื่อตอบวัตถุประสงค์ของการวิจัย 

ซึ่งการสร้างแบบสอบถามงานวิจัยนั้น ข้อคำถามจะถูกสร้างขึ้นจากกรอบแนวความคิดทฤษฎีของตัวแปรที่ต้องการศึกษา หรือต้องการวัด ซึ่งข้อคำถามที่ใช้ถาม ต้องมีเหมาะสมกับประเด็นที่จะวัด โดยจะมีหลักการในการสร้างเพื่อตามขั้นตอนดังนี้

1. พิจารณาหัวข้อปัญหาและวัตถุประสงค์

ในปัจจุบันพบว่า มีหลายงานวิจัยที่ไม่สามารถเลือกใช้แบบสอบถามได้อย่างเหมาะสมกับงานวิจัยของตนเองได้ เนื่องจากตั้งคำถามไม่ตรงกับลักษณะ หรือพฤติกรรม ของผู้ตอบแบบสอบถามจึงทำให้ ผลการวิจัยที่ออกมาไม่ตอบกับวัตถุประสงค์การวิจัยที่ตั้งไว้ ดังนั้นการทราบปัญหาการวิจัย และการกำหนดวัตถุประสงค์การวิจัยที่ชัดเจน ถือเป็นเข็มทิศในการเดินทาง ที่จะทำให้ทราบจุดมุ่งหมายในการสร้างแบบสอบถามงานวิจัยเลยทีเดียว 

ก่อนอื่นคุณต้องทราบปัญหาของงานวิจัยก่อน ว่างานวิจัยที่ทำอยู่นั้นมีปัญหาอะไร? 

ตัวอย่างเช่น บริษัทหนึ่งพนักงานไม่มีแรงจูงใจในการทำงาน พนักงานจึงมีการขาด ลา และมาสาย อยู่เป็นประจำ ทำให้งานไม่เป็นไปตามเป้าหมาย จากปัญหาดังกล่าวอาจเป็นเพราะปัจจัยต่างๆ เช่น พนักงานรู้สึกว่าตนเองได้รับค่าจ้างที่ไม่คุ้มค่ากับงานที่ได้รับมอบหมาย เพื่อนร่วมงานไม่ดี หรือไม่มีความก้าวหน้าในหน้าที่การงาน ทำให้ผู้วิจัยสนใจที่จะศึกษาแรงจูงใจในการทำงานของพนักงานบริษัทแห่งนี้ 

จึงตั้งวัตถุประสงค์เพื่อที่จะศึกษาสาเหตุการขาด ลา และมาสายของพนักงาน และศึกษาปัจจัยที่เป็นแรงจูงใจในการทำงานของพนักงานบริษัทดังกล่าว 

ดังนั้นสิ่งที่ผู้วิจัยจะต้องศึกษาเพื่อที่จะสร้างแบบสอบถามงานวิจัย โดยจะต้องศึกษา แนวคิด ทฤษฎี และงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับแรงจูงใจในการทำงาน ซึ่งจากปัญหาดังกล่าวสามารถนำทฤษฎีแรงจูงใจ ERG ของ Clayton Alderfer ที่ได้พัฒนามาจากทฤษฎีความต้องการ Maslow มาปรับใช้ได้ ซึ่งจะกล่าวถึงวิธีพิจารณารูปแบบการตั้งคำถามในขั้นตอนต่อไป

2. พิจารณารูปแบบของแบบสอบถามที่ใช้

ในการพิจารณารูปแบบของแบบสอบถามที่ใช้ คุณสามารถหยิบยกข้อคำถามจากการศึกษาแนวคิดทฤษฎี และงานวิจัยที่เกี่ยวข้องมาใช้ได้ เช่น ทฤษฎีแรงจูงใจ ERG ของ Alderfer สรุปว่า ความต้องการของมนุษย์สามารถแบ่ง ออกเป็น 3 กลุ่มได้แก่

E ตัวแรกคือ ความต้องการเพื่อการดำรงชีวิต (Existence needs = E) เป็นความต้องการจาก ค่าจ้างเงินโบนัส และผลประโยชน์ตอบแทน ตลอดจนสภาพการทำงานที่ดี ดังนั้นข้อคำถามที่ควรตั้ง อาจจะเป็นการสอบถาม ความพอใจที่ได้รับค่าจ้างหรือโบนัสสิ้นปี หรือสภาพการทำงานที่ได้รับว่าเหมาะกับค่าจ้างหรือไม่ เป็นต้น

R ตัวที่สองคือ ความต้องการทางด้านความสัมพันธ์ (Relatedness needs = R) เป็นความต้องการทางสังคมที่ต้องการการยอมรับจากหัวหน้า เพื่อนร่วมงาน ซึ่งข้อคำถามที่ควรตั้งเช่น ท่านสามารถทำงานกับเพื่อนร่วมได้เป็นอย่างดีหรือไม่ หรือท่านได้รับการยกย่องจากหัวหน้าเมื่อทำงานได้สำเร็จตามที่ตั้งเป้าหมายไว้ เป็นต้น

G ตัวที่สามคือความต้องการความเจริญก้าวหน้า (Growth needs = G) เป็นความต้องการเติบโตจากหน้าที่การงาน ข้อคำถามที่ควรตั้ง เช่น ท่านได้รับพิจารณาการเลื่อนตำแหน่งอยู่เสมอ เป็นต้น

ซึ่งทฤษฎีดังกล่าว ผู้วิจัยสามารถนำทฤษฎีมาปรับใช้เป็นแนวทางในการตั้งข้อคำถาม เพื่อตอบวัตถุประสงค์และแก้ไขปัญหาวิจัยได้ ซึ่งข้อคำถามที่ตั้งนั้น ควรสอบถามเพื่อให้ผู้ตอบแบบสอบถามแสดงระดับความคิดเห็น หรือเรียกว่าข้อคำถามแบบมาตรวัด scale ซึ่ง

5 หมายถึง ให้คะแนนความคิดเห็นมากที่สุด 
4 หมายถึง ให้คะแนนความคิดเห็นมาก
3 หมายถึง ให้คะแนนความคิดเห็นปานกลาง
2 หมายถึง ให้คะแนนความคิดเห็นน้อย
1 หมายถึง ให้คะแนนความคิดเห็นน้อยที่สุด 

3. ร่างแบบสอบถาม

เมื่อได้ข้อคำถามที่สอบถามแล้ว ผู้วิจัยต้องทำการรวบรวมคำถามโดยแบ่ง เป็นด้านตามแนวคิด ทฤษฎี และงานวิจัยที่ศึกษา ซึ่งในขั้นตอนนี้ผู้วิจัยอาจจะร่างข้อคำถามในกระดาษ หรือสร้างข้อคำถามในโปรแกรม Word เลยก็ได้เช่นกัน

4. ตรวจสอบแบบสอบถาม

เมื่อร่างข้อคำถามเรียบร้อยแล้ว ผู้วิจัยควรตรวจทานข้อคำถามก่อนว่าอ่านรู้เรื่องหรือไม่ มีคำผิดหรือไม่ แล้วข้อคำถามสอดคล้องกับสถานการณ์จริงหรือไม่ หากตรวจทานดูแล้วควรส่งให้ผู้เชี่ยวชาญตรวจสอบความคล้องอย่างน้อย 3 ท่าน เพื่อนำข้อเสนอแนะจากผู้เชี่ยวชาญมาปรับปรุงข้อคำถามต่อไป 

ซึ่งกระบวนการนี้เรียกว่า วิธีการทำ IOC ในการทดสอบนี้หากคะแนนของผู้เชี่ยวชาญที่ให้คะแนนแต่ละข้อคำถามรวมกัน หารจำนวนผู้เชี่ยวชาญ แล้วได้ค่าคะแนนแต่ละข้อมากกว่า 0.5 จึงถือว่าผ่าน สามารถนำไปทดสอบแบบสอบถามกับกลุ่มตัวอย่างที่ใกล้เคียงกับกลุ่มที่ศึกษาได้

5. ทำการทดลองแบบสอบถาม (Try-out)

เมื่อตรวจสอบแบบสอบถามเสร็จแล้ว การทำการทดลองแบบสอบถามถือเป็นสิ่งสำคัญที่ผู้วิจัย จะต้องทำอีกกระบวนการหนึ่ง เพื่อให้ทราบถึงความชัดเจนในทุกๆ ด้านของข้อคำถาม หากข้อคำถามมีความชัดเจน ผู้ตอบแบบสอบถามที่อ่านจะเข้าใจตรงกัน เนื่องจากแบบสอบถามมีการใช้ภาษาที่เข้าใจง่าย รัดกุม ไม่มีความบกพร่องทางภาษา ทำให้การตรวจให้คะแนนมีเกณฑ์มาตรฐานเดียวกัน 

ซึ่งวิธีการดังกล่าวเรียกว่า วิธีการ Try-out เป็นการทดสอบความเชื่อมั่นของแบบสอบถาม (Reliability) ซึ่งส่วนใหญ่จะใช้ กลุ่มตัวอย่างที่ใกล้เคียงกับกลุ่มที่ศึกษาประมาณ 30 คน ในการทดสอบครั้งนี้ 

หากคำตอบของกลุ่มตัวอย่างทุกคนมีการแปลความหมายมาแล้วว่ามีความสอดคล้องกัน จะต้องมีค่าคะแนนของค่า Reliability มากกว่า 0.7 ขึ้นไป จะทำให้การ Try-out ในครั้งนี้ผ่านเกณฑ์ที่กำหนด จึงจะสามารถนำแบบสอบถามนี้ไปสร้างเป็นแบบสอบถามฉบับสมบูรณ์ได้ 

หากค่าคะแนนของค่า Reliability น้อยกว่า 0.7 อาจเป็นเพราะข้อคำถามไม่ชัดเจนหรือยากเกินที่ผู้ตอบแบบสอบถามจะเข้าใจ ควรต้องมีการแก้ไขแล้วปรับปรุงในส่วนที่ยังมีข้อบกพร่องต่อไป

6. ปรับปรุงแบบสอบถาม

เมื่อทราบค่าคะแนนของค่า Reliability ว่าน้อยกว่า 0.7 ผู้วิจัยควรดูข้อเสนอแนะที่ผู้ตอบแบบสอบถามได้เสนอไว้ และนำมาปรับปรุง ซึ่งสาเหตุที่ทำให้ค่า Reliability น้อยกว่าเกณฑ์อาจเป็นเพราะข้อคำถามไม่ชัดเจน ยากเกินที่ผู้ตอบแบบสอบถามจะเข้าใจ หรือไม่ตรงกับพฤติกรรมของผู้ตอบแบบสอบถามก็เป็นได้ ดังนั้นผู้วิจัยจึงควรแก้ไข ปรับปรุงข้อคำถามใหม่ และนำไป Try-out อีกครั้ง 

7. สร้างแบบสอบถามฉบับสมบูรณ์

เมื่อแบบสอบถามผ่านเกณฑ์ ผู้วิจัยสามารถสร้างแบบสอบถามฉบับสมบูรณ์ และนำไปสอบถามกับกลุ่มตัวอย่างได้ทันที

การสร้างแบบสอบถามงานวิจัยข้อคำถามจะดีหรือไม่ดีนั้น ขึ้นอยู่ว่าคุณตั้งคำถามได้ตรงจุดหรือไม่ หากคุณตั้งคำถามที่ยากเกินไป หรือไม่ตรงกับพฤติกรรมของผู้ตอบ จะทำให้ผู้ตอบไม่อยากตอบ เพราะไม่เข้าใจ ในขณะเดียวกันหากข้อคำถามมีปริมาณข้อคำถามที่เยอะเกินไป จนทำให้สร้างความกังวลใจกับผู้ตอบ จะส่งผลให้ไม่ตั้งใจตอบ ซึ่งเป็นผลเสียกับคุณเอง ทำให้ไม่ได้คำตอบที่แท้จริงในการแก้ไขปัญหานั้นๆ 

ช่องทางติดต่อ
Tel: 0924766638 คุณอาจุ้ย
อีเมล: ichalermlarp@gmail.com
LINE: @impressedu
(หยุดทุกวันอาทิตย์)

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *