คลังเก็บผู้เขียน: admin

การทำวิทยานิพนธ์

การทำวิทยานิพนธ์คืออะไร ทำยากไหม มีขั้นตอนการทำอย่างไร?

วิทยานิพนธ์จบยากไหม? 

เนื้อหาประมาณไหน? 

สอบหัวข้อแล้วต้องเริ่มอย่างไร? 

เหลือเวลาแค่เดือนเดียวจะทำวิทยานิพนธ์ทันไหม? 

ตอนนี้เหมือนคนกำลังหลงทางกับการเรียงลำดับการทำ ใครพอจะช่วยแนะนำเราได้บ้าง?

ภาพจาก pexels.com

ใครเคยมีคำถามเหล่านี้อยู่ในหัวบ้าง คำถามดังกล่าวข้างต้นเป็นปัญหาที่นักศึกษาทุกคนต้องเจอเมื่อใกล้ถึงเวลาที่จะจบการศึกษา ซึ่งนั่นก็คือปัญหาในการทำวิทยานิพนธ์นั่นเอง ก่อนอื่นเราต้องมาทำความเข้าใจก่อนว่าวิทยานิพนธ์คือ ผลงานทางวิชาการที่นำเสนออย่างเป็นระบบบนพื้นฐานจากการค้นคว้า และวิจัย เป็นสิ่งที่นักศึกษาทุกคนต้องทำ และคิดว่ายาก แต่หากว่านักศึกษาทำความเข้าในหลักการในการทำงานวิทยานิพนธ์ และรู้จักเทคนิคบ้าง ก็จะทำให้การทำวิทยานิพนธ์ที่คิดว่ายากกลับกลายไปง่ายทันที เนื่องจากมีกระบวนการคิดและวิธีทำวิทยานิพนธ์ที่ถูกต้อง ดังนั้นสำหรับการเริ่มต้นการทำวิทยานิพนธ์  ผู้เขียนบทความจึงจะมาบอกเคล็ดลับในขั้นตอนการทำวิทยานิพนธ์ที่ไม่ยากอย่างที่คิด  ถ้าท่านทำตามลำดับขั้นตอนตามบทความนี้

ขั้นตอนที่สำคัญของการทำวิทยานิพนธ์

1. การเลือกหัวข้อวิทยานิพนธ์

ในการเลือกหัวข้อวิทยานิพนธ์นักศึกษาควรเลือกหัวข้อที่ตนเองสนใจที่จะทำจริงๆ เนื่องจากเรื่องที่นักศึกษาสนใจ ท่านจะมีข้อมูลพื้นฐานความรู้เดิมในการแก้ไขปัญหาและตอบคำถามกับท่านอาจารย์ที่ปรึกษา ตอนสอบเค้าโครงวิทยานิพนธ์ นอกจากนั้นการเลือกหัวข้อวิทยานิพนธ์ที่นักศึกษาสนใจและถนัด ท่านจะสามารถวางแผนและต่อยอดงานวิทยานิพนธ์ต่อไปได้ดี 

ซึ่งเคล็ดลับในการเลือกหัวข้อวิทยานิพนธ์ ผู้เขียนขอแนะนำ ดังนี้ 

1.1 ลองหาหัวข้อจากงานวิจัยก่อนหน้าที่มีเนื้อหาใกล้เคียงกับหัวข้อที่เราสนใจ  

1.2 ลองหาประเด็นปัญหาที่เกี่ยวข้องหรือสอดคล้องกับหัวข้อวิทยานิพนธ์ของท่าน 

1.3 ลองอ่านหนังสือ วารสาร บทความ งานวิจัย และวิทยานิพนธ์ เพื่อเป็นตัวอย่าง และใช้เป็นแนวทางกำหนดประเด็นปัญหา 

1.4 ลองทำการสำรวจสิ่งแวดล้อมที่อยู่ใกล้ๆ ตัว สำรวจปัญหาของอาชีพในท้องถิ่นที่เราอยู่ว่าเกิดปัญหาอะไรขึ้นบ้าง 

1.5 คำนึงถึงการเลือกหัวข้อวิทยานิพนธ์ถึงความเหมาะสมในเรื่อง  ความปลอดภัย เวลา งบประมาณ และกำลังของตนว่าจะไม่กระทบต่อสิ่งเหล่านั้น 

1.6 เลือกหัวข้อวิทยานิพนธ์จากความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ และงานนั้นต้องสามารถสร้างคุณค่าให้ตัวงานวิทยานิพนธ์ของท่านได้ด้วย

เมื่อท่านได้หัวข้อวิทยานิพนธ์ที่สนใจให้ทำการวางแผนขั้นตอนดำเนินการต่างๆ ไว้ล่วงหน้า แล้วค่อยๆ ทำการวางแผนการดำเนินการตามที่ไว้วางเป้าหมายไว้ ซึ่งการตั้งหัวข้อวิทยานิพนธ์ที่ดีจะต้องเป็นหัวข้อที่มีประโยชน์ ทำให้เกิดความรู้ใหม่ๆ สามารถหาคำตอบได้จากวิธีทางวิทยาศาสตร์ หรือวิจัย สามารถตรวจสอบสมมติฐานเพื่อหาข้อสรุปได้ และไม่ควรที่จะกว้างเกินขอบเขตที่ตั้งเอาไว้ 

2. ศึกษางานวิจัยที่เกี่ยวข้อง 

การศึกษางานวิจัยที่เกี่ยวข้องถือว่าเป็นการหาข้อมูลเพิ่มเติมจากประเด็นที่เราสนใจที่จะศึกษา หรือนำมาต่อยอดงานวิทยานิพนธ์ของท่านให้มีคุณค่ามากขึ้น ซึ่งปัจจุบันการศึกษางานวิจัยที่เกี่ยวข้องควรทำการศึกษางานวิจัยที่มีการศึกษามาแล้วไม่เกิน 5-10 ปี เนื่องจากโลกในยุคโลกาภิวัฒน์นั้นหมุนเวียนผันเปลี่ยนไปรวดเร็วด้วยเทคโนโลยี ดังนั้นพฤติกรรม การทำงาน  วิถีชีวิต ความต้องการ จึงเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วด้วยเช่นกัน หากท่านทำผลงานวิทยาพนธ์ที่เกี่ยวกับการตลาด สังคม การปฏิบัติงาน พฤติกรรมการใช้ หรือแม้แต่ความต้องการ ท่านจึงควรใช้งานวิจัยในช่วงระหว่าง 5-10 ปี  เนื่องจากท่านสามารถนำงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับงานของท่านมาหยิบยกหรือวิเคราะห์ พฤติกรรม และปัญหาต่างๆ ได้ เช่น ปัญหาการปฏิบัติใน 5 ปี ที่แล้ว กับปัญหาการทำงานใน 5 ปีปัจจุบัน อาจจะแตกต่างกัน หรือแม้กระทั่งพฤติกรรมของผู้บริโภคที่เห็นได้ชัดเจนจากการเปลี่ยนของของเทคโนโลยีที่รวดเร็วขึ้น ผลงานวิจัยที่เกี่ยวข้องดังกล่าวอาจเป็นประเด็นที่ท่านสามารถนำข้อมูลดังกล่าวมาเปรียบเทียบ หรือหยิบยกปัญหาต่างๆ มาวิเคราะห์เหตุการณ์ที่ผ่านมาได้ 

ซึ่งเคล็ดลับในการศึกษางานวิจัยที่เกี่ยวข้อง  ผู้เขียนขอแนะนำ ดังนี้ 

2.1 ท่านควรรวบรวมข้อมูลงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับท่านไว้ให้มากที่สุด เพื่อศึกษาสภาพปัญหา หลักการ และเหตุผลของประเด็นปัญหาว่าปัจจุบันมีสภาพปัญหาอะไรที่น่าสนใจบ้าง 

2.2 ท่านควรสำรวจขอบเขตของงานวิจัยที่เกี่ยวข้องว่ากว้างเพียงใด มีแนวคิด ทฤษฎีใดเข้ามาเกี่ยวข้องกับงานวิทยานิพนธ์ของท่านมากน้อยเพียงใด 

2.3 ท่านควรสำรวจงานวิจัยทั้งหมดที่เกี่ยวข้องว่ามีประเด็นปัญหามีจำนวนกี่เรื่อง และผลการวิจัยเป็นอย่างไร 

2.4 ท่านควรสำรวจเครื่องมือที่ใช้ในงานวิจัยที่เกี่ยวข้องว่ามีกี่ชนิด เป็นลักษณะแบบใด 

2.5 ท่านควรสำรวจดูงานวิจัยที่เกี่ยวข้องที่ผ่านมาว่ามีการใช้สถิติวิจัยใดบ้าง 

หลังจากได้งานวิจัยที่เกี่ยวข้องมาแล้วท่านจะต้องทำการทบทวน และวิเคราะห์ความสอดคล้องข้อมูลที่ตรงกับหัวข้อวิทยานิพนธ์ที่ท่านศึกษา ซึ่งการวิเคราะห์ดังกล่าวจะทำให้ช่วยให้ท่านได้ทราบข้อมูลต่างๆ ที่เราจะต้องทำตั้งแต่ขั้นตอนแรกถึงขั้นตอนสุดท้ายได้ ซึ่งขั้นตอนนี้อาจจะเป็นขั้นตอนที่นานที่สุด เนื่องจากท่านจะต้องอ่านเอกสารที่เกี่ยวข้องตั้งแต่แรกจนจบทั้งหมด แล้วทำการวิเคราะห์ข้อมูลที่ได้ จับประเด็นที่สำคัญออกมาเขียนเรียบเรียง โดยเลือกเอาเฉพาะข้อมูลที่สนใจจะศึกษาจริงๆ เท่านั้นมาเขียน  และทำการสรุปเชื่อมโยงข้อมูลในขั้นตอนสุดท้าย 

3. กำหนดขอบเขตเรื่องที่ศึกษา 

การกำหนดขอบเขตเรื่องที่ศึกษา ท่านต้องกำหนดถึงความต้องการของหัวข้อวิทยานิพนธ์ให้มีความชัดเจนเพื่อไม่ให้เกิดความสับสนในระหว่างการทำงาน นอกจากนั้นการกำหนดขอบเขตของงานควรขึ้นอยู่กับงบประมาณ และระยะเวลาในการทำวิทยานิพนธ์ที่ได้ทำการวางแผนไว้ด้วย  

ซึ่งเคล็ดลับในการกำหนดขอบเขตเรื่องที่ศึกษา ผู้เขียนขอแนะนำว่า ควรประกอบไปหัวข้อหลักๆ ดังนี้

3.1 ขอบเขตด้านเนื้อหา ท่านจะต้องแจกแจงรายละเอียดว่าเนื้อหาที่ท่านกำลังจะศึกษานั้นประกอบไปด้วยแนวคิดอะไรบ้าง และงานวิทยานิพนธ์ดังกล่าวเป็นงานวิจัยเชิงปริมาณ หรือเชิงคุณภาพ ควรระบุให้ชัดเจน

3.2  ขอบเขตด้านประชากรและกลุ่มตัวอย่าง ท่านจะต้องระบุว่าประชากรที่จะศึกษาเป็นใคร มีจำนวนเท่าไร อายุเท่าไร และสามารถคำนวณกลุ่มตัวอย่างได้เท่าไร ในขั้นตอนนี้ ท่านควรใส่อ้างอิงที่มาของประชากรด้วย เพื่อความน่าเชื่อถือของข้อมูล

3.3 ขอบเขตด้านพื้นที่ หัวข้อนี้ท่านจะต้องระบุว่าท่านจะศึกษากลุ่มตัวอย่างในพื้นที่ไหน

3.4 ขอบเขตด้านระยะเวลา หัวข้อนี้เป็นหัวข้อสุดท้ายที่ควรจะกำหนด เพราะจะเป็นการบอกว่าท่านจะใช้ระยะเวลาทั้งสิ้นทั้งหมดกี่เดือนในการทำวิทยานิพนธ์ ซึ่งหัวข้อนี้ควรอ้างอิงตามแผนที่ได้วางไว้ตั้งแต่แรก

4. กรอบแนวความคิด 

กรอบแนวความคิดจะถือว่าเป็นแผนที่ในการทำวิทยานิพนธ์ทั้งหมด เนื่องจากในกรอบแนวคิดจะเป็นผลที่แสดงให้เห็นว่าท่านใช้แนวคิด ทฤษฏีที่เกี่ยวข้องอะไรในการนำมาหักล้างเหตุผล หรือแก้ไขปัญหางานวิทยานิพนธ์ของท่าน ซึ่งเส้นทางของกรอบแนวความคิดจะสร้างความชัดเจน เพื่อเชื่อมโยงไปสู่การกำหนดกรอบทิศทางในการทำวิจัยที่เหมาะสม ซึ่งท่านจะนำมาสรุปเป็นแผนภูมิก็ได้ หรือจะนำมาเขียนเป็นแผนภูมิแสดงความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรทั้งสองตัวแปรออกมาเป็นกรอบแนวคิดก็ได้่

ซึ่งเคล็ดลับในการเขียนกรอบแนวความคิด ผู้เขียนขอแนะนำ ดังนี้ 

4.1 กรอบแนวความคิดต้องประกอบไปด้วยตัวแปรอิสระ และตัวแปรตาม

4.2 หัวลูกศรเส้นทางของตัวแปรจะต้องเขียนให้ชัดเจน และถูกต้อง เพราะถ้าหากเขียนผิดนั่นหมายถึงการใช้สถิติที่เปลี่ยนไปด้วยเช่นกัน

5. เครื่องมือการวิจัย 

เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย อาจจะเป็นอุปกรณ์สำหรับการทดลอง แบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์ แผนการศึกษาสำหรับนักเรียน หรือโปรแกรมที่ใช้ทำการทดลอง  ซึ่งเครื่องมือดังกล่าวถือว่าเป็นสิ่งที่สำคัญสำหรับการวิจัยด้วยเช่นกัน เพราะเครื่องมือดังกล่าวจะนำมาใช้สำหรับรวบรวมข้อมูล เพื่อนำมาวิเคราะห์หาคำตอบและทดสอบสมมติฐานต่อไป

ซึ่งเคล็ดลับในการสร้างเครื่องมือการวิจัย  ผู้เขียนขอแนะนำ ดังนี้ 

5.1 เครื่องมือการวิจัยต้องสอดคล้องกับแนวคิด ทฤษฎีที่จะศึกษา

5.2 ข้อคำถามในเครื่องมือการวิจัย ต้องไม่เยอะ หรือน้อยจนเกินไป

5.3 เครื่องมือการวิจัยที่ท่านได้สร้างขึ้นมาจะต้องผ่านการตรวจสอบเนื้อหาก่อนว่า ข้อคำถามครอบคลุมวัตถุประสงค์หรือไม่ หลังจากการนำเครื่องมือการวิจัยไปให้อาจารย์ที่ปรึกษาตรวจสอบ และนำมาปรับปรุงตามคำแนะนำของอาจารย์ที่ปรึกษา

5.4 นำเครื่องมือการวิจัยที่ปรับปรุงตามคำแนะนำของอาจารย์ที่ปรึกษา มาตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหา (Content validity) จากนั้นปรับปรุงแก้ไขตามคำแนะนำของอาจารย์ที่ปรึกษาอีกครั้ง

5.4 นำเครื่องมือการวิจัยที่ได้ไปทดลองใช้ (pre-test) กับ กลุ่มตัวอย่างที่คล้ายกับกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 30 คน เพื่อหาคุณภาพเครื่องมือ โดยการหาค่าความเที่ยงหรือความเชื่อถือได้ของแบบสอบถาม (Reliability) ตามสูตรสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาค (Cronbach’s Alpha) และใช้โปรแกรมสำเร็จรูปสำหรับการวิจัยทางสังคมศาสตร์ในการคำนวณ เพื่อให้ได้ค่าความเที่ยงหรือความเชื่อถือได้ของเครื่องมือการวิจัยที่มากกว่า 0.7 ขึ้นไป หากค่าความเที่ยงหรือความเชื่อถือได้ของเครื่องมือการวิจัยมากกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้จะถือว่าเครื่องมือการวิจัยนี้มีความเชื่อถือได้ และสามารถนำไปเก็บข้อมูลได้จริง

ภาพจาก Pixabay.com

6. สถิติสำหรับการวิจัย 

ซึ่งสถิติสำหรับการวิจัยถือเป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่จะช่วยให้งานสมบูรณ์แบบมากขึ้น ทำให้ท่านเห็นข้อมูล ปัญหาต่างๆ ข้อดี และข้อเสีย ที่เป็นรูปธรรมมากยิ่งขึ้น ซึ่งสถิติที่ใช้สำหรับการวิจัยจะมีอยู่ 2 ประเภทด้วยกัน คือ สถิติเชิงพรรณา กับสถิติเชิงอนุมาน

ซึ่งเคล็ดลับในการใช้สถิติสำหรับการวิจัย ผู้เขียนขอแนะนำ ดังนี้ 

6.1 สถิติเชิงพรรณนา (Descriptive statistics) ใช้สำหรับในการหาความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ซึ่งสถิตินี้ส่วนใหญ่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลประชากรศาสตร์ ทัศนคติของกลุ่มตัวอย่าง เป็นต้น

6.2 สถิติเเชิงอนุมาน (Inferential Statistics)  ใช้สำหรับการทดสอบสมมติฐานส่วนใหญ่เป็นสถิติขั้นสูง เช่น สถิติ T-test ANOVA สถิติ Regression  ซึ่งสถิตินี้ส่วนใหญ่ใช้สำหรับคาดการณ์เหตุการณ์ที่จะเกิดขึ้นในอนาคต  

ในขั้นตอนการใช้สถิตินี้หากท่านไม่ถนัด ควรหาตัวช่วยที่มีความรู้ด้านสถิติ มาช่วยในการวิเคราะห์ข้อมูล เพราะขั้นตอนนี้หากตัวเลขผิดพลาดเพียงตัวเดียวอาจจะกระทบต่อข้อมูลอื่นๆ ในงานวิทยานิพนธ์ของท่านจนต้องรื้อทำใหม่ได้ 

7. ข้อสรุป อภิปรายผล และข้อเสนอแนะ 

ขั้นตอนนี้เป็นขั้นตอนสุดท้ายของกระบวนการวิจัย ถือเป็นส่วนที่สำคัญมาก เนื่องจากข้อสรุป อภิปรายผล และข้อเสนอแนะ ถือเป็นแนวทางเพื่อให้ท่าน หรือผู้อ่านวิทยานิพนธ์ของท่านสามารถนำข้อสรุปงานวิทยานิพนธ์ของท่าน มาต่อยอด หรือมีแนวทางในการแก้ปัญหา ให้กับสังคม หรือผู้มีส่วนเกี่ยวข้องอะไรได้บ้าง 

ซึ่งเคล็ดลับในการเขียนข้อสรุป อภิปรายผล และข้อเสนอแนะ  ผู้เขียนขอแนะนำ ดังนี้

7.1 ข้อสรุปจากผลการวิจัยต้องสรุปให้สั้น กระชับ และได้ใจความ

7.2 การอภิปรายต้องอภิปรายให้เห็นถึงประเด็นของผลการศึกษาและนำข้อโต้แย้งจากงานวิจัยที่เกี่ยวข้องมาสอดคล้องเพื่อให้เห็นวิธีการแก้ไขปัญหา หรือข้อแตกต่างของผลการวิจัยของท่าน เพื่อให้งานมีความน่าเชื่อถือมากยิ่งขึ้น

7.3 ข้อเสนอแนะจะต้องสามารถนำไปต่อยอดในงานที่จะเกิดขึ้นต่อไปได้ ดังนั้นควรระบุว่าใครจะได้อะไรบ้าง และถ้าทำตามคำแนะนำของผู้วิจัยผู้มีส่วนเกี่ยวข้องจะได้อะไรบ้าง

ขั้นตอนทั้ง 7 ที่ได้กล่าวมาข้างต้นจะเป็นองค์ประกอบหลักของการทำวิทยานิพนธ์ที่ดี ถ้าทำตามเคล็ดลับที่ผู้เขียนได้ให้ไปนี้ จะสามารถเปลี่ยนการทำวิทยานิพนธ์ที่คิดว่ายากให้กลายเป็นเรื่องที่ง่ายขึ้นได้

ช่องทางติดต่อ
Tel: 0924766638 คุณอาจุ้ย
อีเมล: ichalermlarp@gmail.com
LINE: @impressedu
(หยุดทุกวันอาทิตย์)

อาจารย์ที่ปรึกษาไม่ดี

อาจารย์ที่ปรึกษาไม่ดี แก้ไขปัญหาอย่างไรดี?

ภาพจาก pexels.com

หลายครั้งที่ทางทีมงานมักจะได้ยินคำบ่นปนเสียงท้อ ของนักศึกษาระดับปริญญาโทเสมอว่า “ที่ปรึกษาผมไม่ค่อยสนใจเลย ไม่เคยชี้แนะแนวทางอะไรในงาน บางครั้งทำให้คลุมเครือ จนคุยกันไม่ได้ เพราะท่านไม่ฟังแนวคิดของผมเลย บางครั้งส่งงานไปท่านก็ไม่อ่าน บางครั้งนัดเจอเพื่อคุยงานก็ทำให้รู้เลยว่าไม่ได้ดูงานที่ส่งไปเลยครับ”

ดังนั้นการที่จะทำวิทยานิพนธ์สำหรับนักศึกษาที่ไม่มีความรู้ที่เพียงพอในเรื่องวิทยานิพนธ์ก็จำเป็นที่จะต้องหาอาจารย์ที่ปรึกษาในการทำวิทยานิพนธ์ ไว้คอยให้คำปรึกษาในขั้นตอนต่างๆ เช่น การนำเสนอร่างวิทยานิพนธ์ การเก็บข้อมูลวิจัย การสรุปผลการวิจัยให้ถูกต้องตามหลักการใช้ภาษา รวมไปถึงการอ้างอิงจากแหล่งข้อมูลที่เชื่อถือได้ ซึ่งขั้นตอนการแนะนำที่กล่าวมาข้างต้นที่นักศึกษาต้องการได้รับจากอาจารย์ที่ปรึกษา นักวิจัยมือใหม่ที่ยังเป็นนักศึกษาอยู่อาจจะพบเจอปัญหาตามที่ได้เกริ่นนำเรื่องมาข้างต้น คือ การเจออาจารย์ที่ปรึกษาที่ไม่ดี ทำให้มีความเห็นต่องานที่ไม่ตรงกัน ทำให้เมื่อเจอปัญหาต่างๆ ในการทำวิทยานิพนธ์จึงไม่รู้ว่าควรที่จะแก้ไขตรงไหนดี แล้วจะมีวิธีการอย่างไรบ้างที่จะทำให้อาจารย์ที่ปรึกษาสามารถชี้แนะแนวทางให้งานวิทยานิพนธ์ของเราให้ผ่านไปได้ด้วยดี ซึ่งบทความนี้จะพาท่านมาหาคำตอบที่สามารถนำมาประกอบการตัดสินใจในการแก้ไขปัญหาเมื่อพบเจออาจารย์ที่ปรึกษาไม่ดีกันค่ะ

วิธีการแก้ปัญหาอาจารย์ที่ปรึกษาไม่ดี

1. ต้องเริ่มแสวงหาความรู้ด้วยตนเองก่อน

ในขั้นตอนแรกตัวของผู้วิจัยควรที่จะศึกษาทำความเข้าใจกับระเบียบของสถาบันทางการศึกษาของผู้วิจัยทำการศึกษาอยู่เสียก่อน เพื่อให้ทราบถึงขอบเขตของงานวิจัยที่ต้องการทำ และจัดเตรียมเนื้อหาข้อมูลให้ครบถ้วน สำหรับเตรียมตัวที่จะเข้าพบเพื่อพูดคุยกับอาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์ ว่าท่านยังพบปัญหาใดบ้างในการทำวิทยานิพนธ์ครั้งนี้ เพื่อรับฟังข้อเสนอแนะจากอาจารย์ที่ปรึกษา จากประเด็นที่ผู้วิจัยยังไม่สามารถเข้าใจเองได้ ดังนั้นในการขอความคิดเห็นจากอาจารย์ที่ปรึกษาที่มีประสบการณ์ในด้านการเขียนงานวิชาการมากกว่าตัวท่านเอง ผู้วิจัยจึงไม่ควรมีอคติหรือตั้งความคิดของตัวเองเป็นหลัก และควรที่จะทำการเปิดรับฟังความคิดเห็นของอาจารย์ที่ปรึกษา เพื่อจะได้นำมาพัฒนาต่อยอดวิทยานิพนธ์ที่ตนเองกำลังศึกษาอยู่ให้มีคุณลักษณะที่พึงประสงค์ตามเป้าหมายของมหาลัยในการผลิตนักศึกษาที่มีคุณภาพ  คือ  

– การสร้างผู้ใฝ่รู้ แสวงหาความรู้ และรักการเรียนรู้

– การสร้างผู้มีความรู้ ความเชี่ยวชาญในศาสตร์ของตน

– การสร้างผู้มีความสามารถในการคิด วิเคราะห์ สังเคราะห์

– การสร้างผู้มีความสามารถในการสื่อสารทั้งในการพูด เขียน การนำเสนอ

– การสร้างผู้มีความสามารถในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร

ซึ่งบางครั้งอาจารย์ที่ปรึกษาอยากจะให้ท่านได้แสวงหาความรู้ด้วยตนเองก่อน เพื่อให้มีความรู้ ความเชี่ยวชาญในเรื่องที่กำลังศึกษาอยู่ ไม่ใช่มัวแต่จะคอยถามอาจารย์ที่ปรึกษาทุกอย่างโดยไม่เคยสืบค้นหาข้อมูลด้วยตนเองก่อนเลย อาจารย์ที่ปรึกษาท่านจึงให้คำปรึกษาแบบเปิดกว้าง เพื่อให้ท่านได้นำข้อมูลที่ค้นหามาคิดต่อยอดในงานวิทยานิพนธ์ของท่านเอง แต่กระนั้นแล้วหากท่านเกิดปัญหาในขณะทำวิทยานิพนธ์จริงๆ โดยที่หาคำตอบแล้วยังไม่เข้าใจในคำตอบนั้น แล้วอยากให้ที่ปรึกษาอธิบาย ท่านควรลิสรายการข้อปัญหาต่างๆ ที่ท่านพบเจอในการทำวิทยานิพนธ์ออกมาเป็นรายการ และทำการนัดขอพบเจอท่านหรืออีเมลหาท่านเพื่อหาคำตอบในครั้งนั้น เพื่อไม่ให้เป็นการเสียเวลาระหว่างท่านและอาจารย์ที่ปรึกษาในการปฏิบัติหน้าที่ที่รับผิดชอบอยู่ และการปฏิบัติเช่นนี้จะเป็นการสร้างประสบการณ์ในการเรียนรู้ที่ดีให้แก่ผู้วิจัยเองอีกด้วย 

ภาพจาก pexels.com

2. เชื่อมั่นในประสบการณ์ของอาจารย์ที่ปรึกษา  การที่อาจารย์ท่านหนึ่งจะสามารถมาเป็นที่ปรึกษาได้นั้น ท่านจะต้องพัฒนาตนเองให้มีคุณลักษณะของอาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์ที่พร้อมทั้งความรู้ ความสามารถ และบุคลิกภาพเพื่อเป็นแบบอย่างที่ดีในการทำงานวิชาการอยู่เสมอ ไม่ว่าจะฝึกฝนตนเองให้มีความสามารถในการใช้เทคโนโลยี  การสร้างสรรค์ผลงานวิจัยอย่างต่อเนื่อง การแสวงหาความรู้ ติดตามวิทยาการและรู้แหล่งข้อมูลในศาสตร์นั้นๆ เพื่อให้มีความรู้ ความเชี่ยวชาญในเรื่อง/หัวข้อที่ดูแล จนสามารถแสดงจุดยืนหรือความเชี่ยวชาญเฉพาะให้นักศึกษาประจักษ์ได้ ดังนั้นผู้วิจัยจึงควรเชื่อมั่น และรับฟังความคิดเห็นของอาจารย์ที่ปรึกษาที่มีประสบการณ์ทั้งคุณวุฒิ และวัยวุฒิมากกว่าผู้วิจัย แล้วนำข้อมูลที่ได้จากท่านอาจารย์ที่ปรึกษาเป็นตัวช่วย และปรับใช้ในกระบวนการวิจัยของผู้วิจัยให้เหมาะสมเป็นไปตามมาตรฐานที่มหาวิทยาลัยกำหนด

3. ไม่ควรที่จะมีอาจารย์ที่ปรึกษาคนเดียว

การมีอาจารย์ที่ปรึกษาคนเดียวในการทำวิทยานิพนธ์ที่ท่านกำลังศึกษาอยู่อาจจะไม่ใช่ทางออกเส้นทางเดียวของท่านก็เป็นได้ หากความรู้ของอาจารย์ที่ปรึกษาหลักยังไม่สามารถสนับสนุนข้อมูลเกี่ยวกับหัวข้อวิทยานิพนธ์ที่ท่านกำลังศึกษาอยู่ได้อย่างเพียงพอ เนื่องจากอาจารย์ที่ปรึกษาแต่ละท่านมีประสบการณ์ในการปฏิบัติงานและการศึกษาที่แตกต่างกัน ดังนั้นการให้ข้อมูลในหัวข้อที่ท่านกำลังศึกษาอยู่อาจไม่ครอบคลุมประเด็นที่เพียงพอต่อการทำวิทยานิพนธ์ครั้งนี้ จึงเป็นปัญหาระหว่างการทำวิทยานิพนธ์ได้  ดังนั้นการแก้ไขปัญหาเรื่องนี้อาจจะไม่ใช่เรื่องยาก ถ้าท่านได้ที่ปรึกษาร่วมที่มีความรู้ตรงกับหัวข้อที่ผู้วิจัยศึกษาอยู่ เพื่อนำความรู้และข้อมูลของอาจารย์ที่ปรึกษาร่วมมาสนับสนุนข้อมูลในการทำวิทยานิพนธ์ของท่านให้สมบูรณ์ และมีหนักมากขึ้นได้ เพราะอาจารย์ที่ปรึกษาหลักอาจจะมีความคิดเห็นบางสิ่งที่ไม่สอดคล้องหรือแก้ไขปัญหาการทำวิทยานิพนธ์ของท่านได้ วิธีแก้ไขคือการนำเอาความคิดเห็นของอาจารย์ที่ปรึกษาอีกท่านนำมาช่วยสนับสนุนงานข้อมูลเดิมของท่าน ก็อาจจะทำให้สถานการณ์ที่เป็นอยู่ดีขึ้นมาได้

จากที่กล่าวมาทั้งหมดจะเป็นอีกวิธีที่เข้ามาช่วยแก้ไขสถานการณ์ในเรื่องของอาจารย์ที่ปรึกษาไม่ดีขึ้นมาได้บ้าง ทั้งตัวผู้วิจัยและตัวของอาจารย์ที่ปรึกษาเองก็ควรที่จะมีการปรับทัศนคติมุมมองในการทำวิทยานิพนธ์ เพื่อเปิดกว้างรับฟังความคิดเห็นของผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่ายและนำความคิดเห็นมาพิจารณาแก้ไขปัญหาอย่างไม่มีอคติหรือทิฐิได้อีกทางหนึ่ง

ช่องทางติดต่อ
Tel: 0924766638 คุณอาจุ้ย
อีเมล: ichalermlarp@gmail.com
LINE: @impressedu
(หยุดทุกวันอาทิตย์)

การเขียนเค้าโครงวิทยานิพนธ์

การเขียนเค้าโครงวิทยานิพนธ์ทำยากไหม มีขั้นตอนการทำอย่างไร

การเขียนเค้าโครงของวิทยานิพนธ์ เป็นอีกขั้นตอนหนึ่งที่ผู้วิจัยจะต้องจัดทำขึ้น ถือเป็นเอกสารแสดงรายละเอียดของการวางแผนการทำวิทยานิพนธ์ที่ผู้วิจัยหรือนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษาได้จัดทำขึ้น เพื่อเป็นกรอบแนวความคิด หรือแนวทางการทำวิทยานิพนธ์ตั้งแต่ต้นจนจบ นอกจากนั้นการเขียนเค้าโครงวิทยานิพนธ์ยังถือเป็นเอกสารที่ใช้สื่อระหว่างผู้ร่วมทำวิทยานิพนธ์ เพื่อให้เข้าใจกันในหลักการเดียวกัน และสามารถปฏิบัติตามได้ถูกต้อง ทำให้ผู้วิจัยสามารถติดตาม ควบคุม กำกับงาน และประเมินผลการดำเนินงานในแต่ละขั้นตอนได้อย่างถูกต้อง โดยการเขียนเค้าโครงของวิทยานิพนธ์
ผู้วิจัยจำเป็นที่จะต้องเริ่มต้นจากการคิดหาประเด็นปัญหา หรือคำถามที่ตัวผู้วิจัยสนใจแล้วนำไปปรึกษาอาจารย์ที่ปรึกษาเพื่อขอความคิดเห็น ซึ่งในบทความนี้จะมีขั้นตอนสำหรับผู้วิจัยที่กำลังจะเริ่มเขียนเค้าโครงวิทยานิพนธ์สามารถนำไปปฏิบัติตามได้ตามขั้นตอน ดังนี้

ภาพจาก pexels.com

1. ชื่อเรื่อง (Title)

การตั้งชื่อเรื่องวิทยานิพนธ์จะต้องใช้คำที่กะทัดรัด ชัดเจน ไม่คลุมเครือ ซึ่งผู้วิจัยจะต้องเขียนเป็นข้อความ คำนาม วลี ในชื่อเรื่อง เพื่อสะท้อนหรือชี้ให้เห็นถึงประเด็นปัญหาการวิจัย อาจกล่าวได้ว่าการตั้งชื่อเรื่องจะต้องสะท้อนให้เห็นถึงประเด็นปัญหาที่ต้องการหาคำตอบนั่นเอง ดังนั้นชื่อเรื่องควรมาจากสิ่งที่ผู้วิจัยสนใจหรือมีความชำนาญในเนื้อหาที่จะทำ แต่ก่อนเริ่มตั้งชื่อเรื่องเพื่อเขียนเค้าโครงวิทยานิพนธ์นั้น จะต้องนำชื่อเรื่องที่สนใจไปปรึกษาอาจารย์ที่ปรึกษาก่อน เพราะอาจารย์ที่ปรึกษาจะเป็นคนที่บอกว่าชื่อเรื่องของผู้วิจัยเหมาะสมกับปริญญาที่ศึกษาหรือไม่ เมื่อชื่อเรื่องผ่านการพิจารณาจากอาจารย์ที่ปรึกษา ผู้วิจัยจึงจะสามารถลงมือทำได้ เนื่องจากการตั้งชื่อเรื่องวิทยานิพนธ์จะบ่งบอกให้ทราบถึงประเภทของการทำวิทยานิพนธ์ เช่น การวิจัยเชิงสำรวจ มักจะใช้คำว่าการสำรวจหรือการศึกษาเป็นคำขึ้นต้น และอาจจะระบุตัวแปรเลยก็ได้ ส่วนการวิจัยเชิงทดลอง มักจะใช้คำว่าการทดลอง การวิเคราะห์ การสังเคราะห์ การเปรียบเทียบนำหน้า เป็นต้น

2. ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา (Background and Rationale)

ในส่วนของความเป็นมาและความสำคัญของปัญหาเป็นการให้เหตุผลประกอบว่าทำไมเรื่องของเราจึงสมควรศึกษาวิจัย ซึ่งความเป็นมาควรจะชี้ให้เห็นว่าประเด็นปัญหาหรือข้อคำถามที่จะศึกษาหาคำตอบนั้นมีภูมิหลังหรือความเป็นมาอย่างไร ปัญหานั้นมีความสำคัญ และสมควรศึกษาหาคำตอบอย่างไร มีผู้เสนอแนวคิดหรือทฤษฏีสำหรับตอบปัญหานั้นหรือไม่ หรือมีประเด็นใดบ้างที่ยังไม่ชัดเจน หรือยังไม่มีคำตอบ เพื่อแสดงเหตุผลให้เห็นว่า เรื่องที่นำมาศึกษานี้สำคัญ และจำเป็นอย่างยิ่งในการหยิบยกประเด็นปัญหาต่างๆ ขึ้นมา จนทำให้ผู้วิจัยสนใจ และตัดสินใจเลือกที่จะศึกษาเรื่องนี้

ภาพจาก pexels.com

3. วัตถุประสงค์ของการวิจัย (Objectives)

วัตถุประสงค์การวิจัยจะเป็นสิ่งที่วางเป้าหมายการทำงานไว้ล่วงหน้า ว่าผู้วิจัยจะดำเนินงานในแต่ละขั้นตอนไปสู่จุดมุ่งหมายใด ซึ่งผู้วิจัยควรที่จะใช้ภาษาที่ชัดเจน เข้าใจง่าย ไม่วกวน และควรใช้เป็นประโยคบอกเล่ามากกว่าที่จะใช้เป็นประโยคคำถามหรือปฏิเสธ ซึ่งส่วนใหญ่จะขึันต้นด้วยคำว่า “เพื่อ…” โดยแต่ละข้อจะต้องมุ่งไปทิศทางเดียวกันในการสะท้อนปัญหา และตอบปัญหาการวิจัยในแต่ละแง่มุม 

4. คำถามของการวิจัย (Research Question) คำถามวิจัยที่ดีจะสามารถช่วยให้ผู้วิจัย กำหนดวัตถุประสงค์ สมมติฐาน และวิเคราะห์ตัวแปรเหล่านั้นออกมา เพื่อแก้ไขปัญหาได้ดี หากผู้วิจัยตั้งคำถามที่ไม่ชัดเจนจะเป็นการสะท้อนให้เห็นว่า ตัวผู้วิจัยไม่มีความมั่นใจในศึกษาข้อมูลวิทยานิพนธ์ในครั้งนี้ นอกจากนั้นจะทำให้ผู้อ่านเกิดความสับสนและตั้งข้อสงสัยกับผู้จัดทำวิทยานิพนธ์ขณะอ่าน จึงอาจกล่าวได้ว่าการตั้งคำถามของการวิจัยนั้นจะต้อง เป็นคำถามที่มีความเหมาะสมหรือมีความสัมพันธ์กับเรื่องที่จะศึกษาด้วย

ภาพจาก pexels.com

5. ทฤษฏีและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง (Review of Related Literatures)

การทบทวนวรรณกรรมเป็นการเขียนที่ได้มาจากการค้นคว้าจากเอกสารต่างๆ ทั้งทฤษฏี และงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง จะทำให้ผู้วิจัยเล็งเห็นถึงปัญหา และแนวทางในการดำเนินการศึกษา ซึ่งผู้วิจัยจำเป็นที่จะต้องจัดเรียงลำดับตามหัวข้อเนื้อเรื่องที่ไว้วางแผนไว้ด้วย เพื่อให้ผู้อ่านได้เห็นถึงพัฒนาการต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง หลังจากนั้นจึงทำการสรุปให้เห็นถึงการสอดคล้อง และข้อขัดแย้ง ซึ่งการเขียนในส่วนนี้จะทำให้เกิดประโยชน์ต่อการนำไปตั้งสมมติฐานด้วย

6. สมมติฐาน (Hypothesis) และกรอบแนวคิดในการวิจัย (Conceptual Framework)

การตั้งสมมติฐานและกรอบแนวคิดในการวิจัย ถือเป็นหัวใจสำคัญของการทำวิทยานิพนธ์ เป็นการคาดเดาคาดคะเนอย่างมีเหตุผลตามแนวคิดทฤษฎี ทำหน้าที่เสมือนเป็นทิศทาง และแนวทางในการทำวิจัย ซึ่งสมมติฐานและกรอบแนวคิดในการวิจัยที่ดีจะต้องตอบคำถาม และวัตถุประสงค์ของการวิจัยได้อย่างครบถ้วน

7. ขอบเขตของการวิจัย (Delimitation)

เป็นการระบุให้ทราบว่าการวิจัยมีขอบข่ายไปในทิศทางใด เพื่อป้องการการศึกษาไม่ครบถ้วน
ดังนั้นผู้วิจัยจึงต้องกำหนดขอบเขตของการวิจัยให้แน่นอน อาจจะกำหนดเรื่องให้แคบจากบทเรียนใดบทเรียนหนึ่งของสาขาวิชาที่ได้ศึกษาก็ได้ ซึ่งขอบเขตของการวิจัยที่สำคัญที่ผู้วิจัยต้องกำหนด ได้แก่ ลักษณะประชากรและจำนวนประชากร การเลือกสุ่มตัวอย่าง ขนาดกลุ่มตัวอย่าง และวิธีการเลือกสุ่มตัวอย่าง นอกจากนั้นยังควรมีตัวแปรที่ศึกษา โดยระบุทั้งตัวแปรอิสระและตัวแปรตามลงไปด้วย

8. การให้คำนิยามศัพท์ที่จะใช้ในการวิจัย (Operatonal Definition)

ในการวิจัยอาจมีตัวแปรหรือคำศัพท์เฉพาะต่างๆ ที่จำเป็นต้องให้คำจำกัดความอย่างชัดเจนที่ตรงกับเรื่องที่ผู้วิจัยศึกษา ดังนั้นผู้วิจัยจึงต้องมีคำนิยามศัพท์ที่เกี่ยวข้องกับเรื่องของผู้วิจัยที่สามารถสังเกตหรือวัดได้ ไม่อย่างนั้นแล้ว อาจมีการแปลความหมายไปในความหมายอื่นได้ ซึ่งประเภทของการเขียนนิยามศัพท์ มีดังนี้

  • คำนิยามศัพท์เฉพาะ เป็นคำที่ให้ความหมายคำศัพท์ที่ใช้ในการงานวิจัยให้มีความเฉพาะเจาะจงให้เข้ากับประเด็นที่เกี่ยงข้องกับการวิจัย เพื่อทำความเข้าใจความหมายให้ตรงกัน
  • การนิยามแบบทั่วไป เป็นการกำหนดความหมายโดยทั่วไปอย่างกว้างๆ อาจจะให้ความหมายตามทฤษฎี พจนานุกรม
  • การนิยามปฏิบัติการ เป็นนิยามศัพท์ที่สามารถเอาผลมาใช้ปฏิบัติได้จริง

9. ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากการวิจัย (Expected Benefits and Application)

หัวข้อนี้จะอธิบายถึงประโยชน์ที่จะนำไปใช้ได้จริง ซึ่งผู้วิจัยควรที่จะระบุว่าผลประโยชน์ที่จะได้รับนั้นจะเกิดกับใครเป็นสำคัญ ประเด็นนี้อาจนับได้ว่าเป็นประเด็นที่สำคัญของการเขียนเค้าโครงวิทยานิพนธ์ เพราะเป็นประเด็นที่ใช้ประเมินว่างานวิจัยเรื่องนี้จะมีผลอะไรที่นำมาใช้ประโยชน์ได้ หรือมีประโยชน์มากน้อยเพียงใด ถือเป็นหัวข้อที่สำคัญจะเป็นส่วนที่บ่งชี้ถึงความสำคัญ และความจำเป็นที่ต้องทำการวิจัยปัญหานั้นๆ

10. ระเบียบวิธีวิจัย (Research Methodology)

ระเบียบวิธีวิจัยนั้นจะต้องประกอบไปด้วย วิธีวิจัย แหล่งข้อมูล ประชากรที่จะศึกษา วิธีการสุ่มตัวอย่าง วิธีการเก็บข้อมูล การประมวลผลข้อมูล และวิเคราะห์ข้อมูล ซึ่งวิธีเหล่านี้จะเป็นการให้รายละเอียดเกี่ยวกับขั้นตอนในการดำเนินการวิจัยในแต่ละขั้นว่าจะต้องทำอย่างไร

ภาพจาก pexels.com

11. ระยะเวลาในการดำเนินการ 

ผู้วิจัยจะต้องระบุถึงระยะเวลาที่จะใช้ในการดำเนินงานวิทยานิพนธ์ทั้งหมดว่าใช้เวลานานเท่าใด และต้องระบุระยะเวลาที่ใช้สำหรับแต่ละขั้นตอนของการทำวิทยานิพนธ์ โดยแสดงให้เห็นจุดเริ่มต้นและจุดสิ้นสุดของโครงการ เช่น ระบุ วัน เดือน ปี ที่เริ่มทำและวันสิ้นสุด ถ้าหากเป็นโครงการระยะยาว และมีหลายช่วงระยะเวลาผู้วิจัยก็ควรที่จะระบุแต่ละช่วงเวลาให้ชัดเจนด้วยเช่นกัน เพื่อใช้เป็นรายละเอียดประกอบการพิจารณา อนุมัติโครงการ

12. การอ้างอิง (Referrences)

การอ้างอิงถือเป็นขั้นตอนสุดท้ายของการเขียนโครงร่างวิทยานิพนธ์ ซึ่งผู้วิจัยจะต้องมีเอกสารอ้างอิงในเนื้อหาที่เข้าไปศึกษาเรื่องนั้นๆ ซึ่งรายการที่ใช้อ้างอิควรจัดทำในรูปแบบที่เป็นไปตามสากลนิยม โดยส่วนใหญ่นิยมใช้ การอ้างอิงแบบ APA Style หรือ Chicago Style ซึ่งการอ้างอิงแต่ละรูปแบบจะขั้นอยู่กับข้อกำหนดของแต่ละมหาวิทยาลัย หรือสาขาวิชา ซึ่งผู้วิจัยสามารถค้นคว้า หรือหาข้อมูลวิธีการอ้างเพิ่มเติมได้ จากแหล่งข้อมูลอินเทอร์เน็ตทั่วไป

จากรายละเอียดการเขียนเค้าโครงวิทยานิพนธ์ที่กล่าวมาข้างต้น อาจมีข้อมูลอื่นๆ เพิ่มเติมแล้วแต่รูปแบบของมหาวิทยาลัย เช่น งบประมาณ ประวัติผู้วิจัย หรือภาคผนวก ผู้วิจัยสามารถนำใส่ได้ตามสมควร ผู้เขียนหวังว่าบทความนี้จะเป็นประโยชน์กับท่านที่กำลังจะเริ่มเขียนเค้าโครงวิทยานิพนธ์

ช่องทางติดต่อ
Tel: 0924766638 คุณอาจุ้ย
อีเมล: ichalermlarp@gmail.com
LINE: @impressedu
(หยุดทุกวันอาทิตย์)

การเขียนวิจัยบทที่ 1

การเขียนวิจัยบทที่ 1 ทำยากไหม มีขั้นตอนการทำอย่างไร

ในการเริ่มต้นที่จะทำวิจัยสำหรับผู้วิจัยมือใหม่ หลายท่านมักจะประสบกับปัญหาจากการไม่รู้ว่าจะเริ่มต้นเขียนบทที่ 1 ของตนเองอย่างไร หรืออาจจะพอรู้มาบ้าง แต่ยังไม่ทราบองค์ประกอบที่แน่ชัดว่าจะเริ่มต้นตรงไหน จึงทำให้บทที่ 1 ที่เขียนออกมาไม่ตรงประเด็นที่จะศึกษา หรืออาจทำให้ผู้อ่านเกิดความสบสนได้ บทความนี้จึงจะพาผู้วิจัยมือใหม่มาหาคำตอบ และชี้แนะแนวทางในการทำบทที่ 1 ให้ง่ายขึ้น โดยมีขั้นตอนการทำดังนี้

ภาพจาก pexels.com

1. ความเป็นมา และความสำคัญของปัญหาการวิจัย

ในการเขียนบทที่ 1 คงหนีไม่พ้นที่จะต้องเริ่มต้นจากเขียนความเป็นมา และความสำคัญของปัญหาการวิจัย เนื่องจากหัวข้อนี้ จะเป็นหัวข้อแรกที่ผู้วิจัยต้องเกริ่นนำ เพื่อแสดงให้เห็นถึงความสำคัญ และความเป็นมาที่ได้ทำวิจัยในครั้งนี้ โดยจะเป็นการเกริ่นนำถึงภาพรวมทั้งหมดของงานวิจัยที่จะทำการศึกษา ความสำคัญของเรื่อง และนำเสนอไปถึงข้อมูลของปัญหาทั้งหมด อธิบายข้อดี ข้อเสีย ของปัญหาเพื่อจูงใจให้ผู้อ่านมีความคล้อยตามไปกับประเด็นเนื้อเรื่องที่ผู้วิจัยได้เรียบเรียงข้อมูลออกมา รวมถึงการหาแนวทางในการแก้ไขปัญหาที่ได้ทำการวิจัย ซึ่งผู้วิจัยควรที่จะมีเอกสารอ้างอิง เพื่อนำมาเป็นเอกสารในการสนับสนุนงานวิจัยที่กำลังศึกษา จากนั้นนำข้อมูลที่ศึกษาทั้งหมดมาสรุปอภิปรายถึงเป้าหมายที่จะทำการแก้ไขปัญหา ซึ่งความเป็นมา และความสำคัญของปัญหาการวิจัย มีวิธีการเขียนง่ายๆ ดังนี้

ย่อหน้าที่ 1 ควรเกริ่นนำ เขียนบรรยายให้เห็นถึงภาพรวม ความสำคัญของเรื่องที่ผู้ทำวิจัยจะทำการศึกษาปัญหานั้น

ย่อหน้าที่ 2-3 ควรหาข้อมูลที่จะนำมาสู่ประเด็นปัญหาในด้านต่างๆ โดยผู้วิจัยจะต้องนำเสนอ และชี้แจงลักษณะสำคัญของปัญหาที่ทำการศึกษานั้น ว่ามีคุณค่ามากพอที่จะทำการศึกษาไหม

ย่อหน้าที่ 4 ควรทำการสรุป รวมถึงตั้งข้อสงสัยถึงแนวทางที่แก้ปัญหา และเขียนบรรยายสรุปโดยแสดงให้เห็นถึงความสำคัญของปัญหาที่ทำวิจัยทำการศึกษา พร้อมเสนอหลักการหรือทฤษฎีของงานที่ออกแบบมาเพื่อแก้ไขปัญหาเรื่องนี้

ภาพจาก pexels.com

2. วัตถุประสงค์ของการทำวิจัย

วัตถุประสงค์ของการทำวิจัยจะเป็นตัวบ่งบอกถึงคำถามที่ต้องการหาคำตอบ ซึ่งผู้วิจัยจะต้องเขียนให้เห็นถึงประเด็นย่อย โดยจะเขียนเป็นข้อหรือไม่ก็ได้ ขึ้นอยู่กับประเภทของงานวิจัยที่ต้องการจะทำ และต้องเขียนวัตถุประสงค์ให้อยู่ในกรอบของชื่อเรื่องการวิจัยด้วย อาจจะเขียนให้อยู่ในรูปแบบของประโยคบอกเล่า ดังนี้

  1. เพื่อศึกษาสาเหตุของปัญหา
  2. เพื่อศึกษาข้อมูลขององค์กร ผลิตภัณฑ์ หรือบริการที่เลือก 
  3. เพื่อเสนอแนวทางในการแก้ไขปัญหา

ซึ่งรูปแบบทั้งหมดที่กล่าวอาจจะเลือกมาใช้ข้อใดข้อหนึ่ง หรืออาจจะนำมาใช้ทั้งหมดก็ได้

3. การตั้งสมมุติฐาน

การตั้งสมมติฐานถือเป็นการตั้งข้อสังเกตุ ในการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น ดังนั้นการตั้งสมมติฐานจึงเป็นการคาดคะเนคำตอบเพื่อแก้ไขปัญหานั้นนั่นเอง สมมติฐานจึงเป็นเครื่องมือที่จะนำไปสู่การพิสูจน์ค้นหาความจริงในการศึกษาค้นคว้า ด้วยกระบวนการวิจัย   ซึ่งในบทความนี้สามารถแบ่งการตั้งสมมติฐานออกเป็น 2 ประเภท ดังนี้

  1. สมมติฐานการวิจัย (Research Hypothesis or Descriptive Hypothesis) เป็นข้อความที่เขียนในลักษณะบรรยายหรือคาดคะเนคำตอบของการวิจัย  ซึ่งข้อความดังกล่าวจะแสดงถึงความเกี่ยวข้องกันของตัวแปรในรูปของความมสัมพันธ์ หรือในรูปของความแตกต่างที่ได้คาดคะเนไว้ 
  2. สมมติฐานทางสถิติ (Statistical Hypothesis) เป็นสมมติฐานที่แปลงรูปมาจากสมมติฐานการวิจัยอยู่ในรูปแบบทางคณิตศาสตร์ โดยมีการแทนค่าด้วยสัญลักษณ์ซึ่งจะเกิดขึ้นในกรณีที่ผู้วิจัยรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่าง และจะอ้างอิงไปสู่กลุ่มประชากรโดยการทดสอบสมมติฐาน

4. ขอบเขตการวิจัย

การระบุขอบเขตการวิจัย เป็นการกำหนดขอบเขตว่าสิ่งใดควรที่จะมีในงานวิจัยหรือไม่ควรมี โดยผู้วิจัยจะต้องเขียนออกมาเป็นข้อๆ หรืออาจเป็นการเขียนพรรณนา เพื่อให้กระบวนการวิจัยเฉพาะเจาะจงและครอบคลุมขึ้นได้ ซึ่งผู้วิจัยอาจพิจารณาจากปัญหา และวัตถุประสงค์ที่ได้ทำการศึกษาในเรื่องนั้นๆ เช่น กลุ่มของประชากร เพศ หรือช่วงอายุ ซึ่งขอบเขตนั้นจะต้องไม่มากจนเกินไป หรือแคบจนไม่เหมาะสมกับงานที่กำลังทำ และจะต้องสามารถทำให้งานวิจัยเสร็จทันภายในกำหนด 1 ภาคเรียน

ภาพจาก pexels.com

5. คำนิยามศัพท์เฉพาะ

คำนิยามศัพท์เฉพาะเป็นการสื่อสารคำ และข้อความที่ใช้ในการวิจัยเพื่อให้เกิดความเข้าใจที่ถูกต้องระหว่างผู้วิจัยกับผู้อ่าน โดยการเขียนคำนิยามศัพท์เฉพาะผู้วิจัยจะต้องเขียนให้สอดคล้องกับแนวความคิดทางทฤษฏีที่ได้ทำการศึกษา หรือไม่คำนิยามศัพท์เฉพาะนั้นจะต้องสามารถปฏิบัติหรือวัดได้ เพื่อชี้นำไปสู่การวัดตัวแปรของงาน อาจกล่าวได้ว่าการนิยามศัพท์ถือว่าเป็นตัวที่ใช้บ่งชี้เฉพาะเจาะจงปัญหาการวิจัย ซึ่งสามารถแบ่งนิยามศัพท์เฉพาะออกเป็น 2 แบบด้วยกัน คือ

  1. นิยายศัพท์ตามทฤษฎี (Constitutive definition) หรือนิยามศัพท์ทั่วไป (General definition) เป็นการอาศัยแนวคิดเดิมที่ได้รับการยอมรับทั่วไปหรือใช้ตามทฤษฎีที่ผู้เชี่ยวชาญได้ให้ความหมายเฉพาะของคำศัพท์นั้นไว้
  2. นิยามศัพท์ปฏิบัติการ (Operational definition) เป็นการให้ความหมายในการอธิบายลักษณะของกิจกรรมที่สามารถวัด และสังเกตของตัวแปรนั้นได้ ถือว่าเป็นสิ่งที่จำเป็นอย่างมากสำหรับศัพท์เฉพาะของตัวแปรที่เป็นนามธรรม ซึ่งตัวแปรที่เป็นนามธรรมจะต้องให้คำนิยามทั้งระดับนิยามศัพท์ทั่วไป และนิยามศัพท์ปฏิบัติการ หากใช้นิยามศัพท์ของผู้อื่นจะต้องทำการเขียนอ้างอิงถึงบุคคลที่นำมาด้วย 

6. ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากงานวิจัย

ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากงานวิจัยจะเป็นหัวข้อสุดท้ายของบทที่ 1 เป็นการเสนอแนวทางให้เห็นถึงผลลัพธ์ของการวิจัย และประโยชน์ที่เกิดจากการที่ได้นำไปใช้ โดยผู้วิจัยจะต้องเขียนให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ และต้องอยู่ในขอบเขตของการวิจัยที่จะทำการศึกษา ซึ่งประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากงานวิจัยในครั้งนี้ จะต้องเขียนให้สั้น กะทัดรัด ชัดเจน และจะต้องมีความเป็นไปได้ของสิ่งที่จะเกิดขึ้น อาจจะเขียนพรรณนาเป็นย่อหน้าโดยไม่ต้องแยกเป็นข้อก็ได้

จากขั้นตอนที่ได้กล่าวมาข้างต้น อาจเป็นประโยชน์ในการนำไปสู่การพัฒนาการเขียนบทที่ 1 ที่ดีขึ้นของนักวิจัยมือใหม่ได้ หากผู้วิจัยทำตามเคล็ดลับในบทความที่ได้กล่าวไว้ใน 6 หัวข้อนี้ หากผู้วิจัยไม่มั่นใจสามารถหาผู้เชี่ยวชาญที่สามารถช่วยท่านได้ หรือขอคำแนะนำจากอาจารย์ที่ปรึกษา เพื่อจะได้นำมาปรับปรุงแก้ไขในงานวิจัยต่อไปได้

ช่องทางติดต่อ
Tel: 0924766638 คุณอาจุ้ย
อีเมล: ichalermlarp@gmail.com
LINE: @impressedu
(หยุดทุกวันอาทิตย์)

การเขียนวิจัยบทที่ 2

การเขียนวิจัยบทที่ 2 ทำยากไหม มีขั้นตอนการทำอย่างไร

ภาพจาก pexels.com

หากกล่าวถึงบทที่ 2 ให้เข้าใจง่ายๆ บทนี้่เป็นบทที่มีเนื้อหาการทบทวนวรรณกรรม แนวคิด ทฤษฎีและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องเป็นประเด็นหลัก โดยผู้วิจัยจะต้องทำการศึกษาค้นคว้าผลงานทางวิชาการ เช่น ผลงานวิจัย บทความ วารสารทางวิชาการ นิตยสาร ข้อมูลทางเว็บไซต์ หรือหนังสือที่เกี่ยวข้องในประเด็นที่ทำการวิจัยทั้งไทยและต่างประเทศ จากนั้นผู้วิจัยจะทำการพิจารณากำหนดหัวข้อแนวคิด ทฤษฎีที่มีความสอดคล้องกับหัวข้อหรือปัญหาในเรื่องที่กำลังศึกษา เพื่อเป็นการสนับสนุนผลการวิจัยให้มีความน่าเชื่อถือมากยิ่งขึ้น ดังนั้นการเขียนบทที่ 2 อาจจะไม่ใช่เรื่องง่ายสำหรับทุกคน ที่จำเป็นต้องรับผิดชอบหน้าที่การงานของตนเองที่ปฏิบัติอยู่ด้วย บทความนี้จึงมีแนวทางในการค้นคว้าเรียบเรียงส่วนประกอบต่างๆ  และขั้นตอนที่จะทำให้เขียนบทที่ 2 ประสบผลสำเร็จง่ายขึ้น ดังนี้

1. เอกสารที่เกี่ยวข้อง (Literature Review)

ภาพจาก pexels.com

การเก็บข้อมูลเอกสารที่เกี่ยวข้องกับการวิจัย ไม่ว่าจะเป็นตำรา เอกสารอ้างอิง รายงานทางวิชาการ วารสาร หรือนิตยสาร ที่มีเนื้อหาที่สอดคล้องกับงานวิจัยที่กำลังทำอยู่ ผู้วิจัยจะต้องแสดงความหมาย แนวคิด ระเบียบวิธีวิจัยที่สอดคล้องกับงานวิจัยของผู้วิจัย ซึ่งการเก็บข้อมูลเอกสารอาจเป็นงานวิจัยในประเทศหรือต่างประเทศก็ได้ แต่มีข้อแม้ว่าผู้วิจัยต้องทำการนำเสนอออกมาในรูปแบบภาษาของผู้วิจัยเอง เพื่อหลีกเลี่ยงการลอกเลียนในงานเขียนของผู้อื่น จากนั้นให้เครดิตหรืออ้างอิงแหล่งที่มาทุกครั้ง เช่น 

“ผู้วิจัยต้องการทราบจำนวนพนักงานของบริษัท ซีพี ออลล์ จํากัด (มหาชน) ว่ามีจำนวนพนักงานทั้งหมดกี่คน ผู้วิจัยต้องทำการศึกษาข้อมูลจากรายงานประจำปีของบริษัทฯ ในปีล่าสุด ที่มีการแสดงจำนวนตัวเลขของพนักงานในปีนั้น หลังจากนั้นผู้วิจัยต้องทำการอ้างอิงแหล่งที่มา และปีที่ศึกษาของรายงานประจำปีบริษัทฯ  ด้วย” 

ดังนั้นผู้วิจัยจะต้องทำการเก็บไฟล์ข้อมูลเอกสารที่เกี่ยวข้องในประเด็นการศึกษาครั้งนั้นไว้ทุกครั้งด้วยเช่นกัน เพื่อเอาไว้ทำแหล่งอ้างอิงของเอกสารให้ถูกต้องตามรูปแบบที่มหาวิทยาลัยกำหนดไว้ด้วย นอกจากนั้นการเก็บไฟล์ข้อมูลเอกสารที่เกี่ยวข้อง ยังทำให้ผู้อ่านงานวิจัยทราบว่าผู้วิจัยใช้ผลงานของใครมาอ่านและค้นคว้าข้อมูล จนสามารถแยกแยะความคิดเห็นและโต้แย้งหลักการ เหตุผลออกมาในรูปแบบภาษาของผู้วิจัยเองได้ จนสามารถทราบถึงข้อความ จำนวนตัวเลข แนวคิดทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง และตัวแปรต่างๆ ว่ามีความเกี่ยวข้องสัมพันธ์กันอย่างไร อีกทั้งยังทำให้ผู้วิจัยตั้งสมมติฐานได้อย่างมีเหตุผล โดยอาศัยข้อมูลเอกสารที่เกี่ยวข้องจากผลงานวิจัยที่ได้ค้นคว้ามาช่วยในการแปลความหมาย และสรุปผลการวิจัย ครั้งนั้น

โดยหลักการเขียนและเรียบเรียงเอกสารที่เกี่ยวข้อง จะต้องปฏิบัติดังนี้

  • จะต้องอ่าน ศึกษา และวิเคราะห์เอกสารให้มากก่อนที่จะลงมือเขียน
  • ศึกษาแนวทางในการเขียนจากงานที่เคยเขียนขึ้นมาแล้วจากเรื่องที่มีส่วนใกล้เคียงกับงานของผู้วิจัย
  • เรียงลำดับการเขียนจากกว้างมาแคบ หรือเรียงจากคีย์เวิร์ด โดยทำการแบ่งเป็นประเด็นๆ ไป
  • ทำการเรียบเรียงโดยเขียนเป็นภาษาเขียนของตัวเอง แล้วอ้างอิงให้ถูกต้อง เพื่อไม่ให้ไม่เป็นการ
    คัดลอกผลงานเขียนของผู้อื่น
  • จัดหมวดหมู่การนำเสนอในแต่ละประเด็นในแต่ละคีย์เวิร์ด

2. ทฤษฏีที่เกี่ยวข้อง (Related Theories)

ทฤษฏีที่เกี่ยวข้องจะคล้ายกับตำรา เอกสารอ้างอิง รายงานทางวิชาการ วารสาร หรือนิตยสาร แต่เป็นข้อมูลของนักวิจัย นักวิทยาศาสตร์ หรือนักวิชาการที่มีชื่อเสียงได้ทำการทุ่มเทเวลาส่วนตัวมากกว่าครึ่งชีวิต เพื่อศึกษาค้นคว้า จนสามารถวิเคราะห์ออกมาเป็นหลักทฤษฎี และเป็นประโยชน์กับผู้คนหมู่มาก ได้สามารถนำหลักการ และแนวคิดดังกล่าวไปใช้ได้  เช่น 

“ทฤษฎีปัจจัยส่วนประสมทางการตลาด (7Ps)  ของ Philip Kotler ซึ่งส่วนใหญ่ทฤษฎีนี้จะใช้กับธุรกิจบริการ เพื่อสร้างความพึงพอใจกับผู้ให้บริการ ธุรกิจหรือองค์กรต่างๆ จึงนำทฤษฎีนี้มาพัฒนา ปรับปรุงต่อยอดการให้บริการทั้ง 7 ปัจจัย ได้แก่ ปัจจัยด้านผลิตภัณฑ์ (Product) ปัจจัยด้านราคา (Price) ปัจจัยด้านช่องทางการจัดจำหน่าย (Place/Channel Distribution) ปัจจัยด้านการส่งเสริมการตลาด (Promotion) ปัจจัยด้านบุคคล (People) ปัจจัยด้านกระบวนการ (Process) และปัจจัยด้านลักษณะทางกายภาพ (Physical Evidence) โดยปัจจัยแต่ละด้านเป็นทฤษฎีที่ Philip Kotler ได้ศึกษามาอย่างครอบคลุมแล้วว่าสามารถสร้างความพึงพอใจให้กับผู้รับบริการได้เป็นอย่างดี”  

ผู้วิจัยสามารถหาอ่านได้ตามงานวิจัยหลายเล่มที่ได้ทำการศึกษาการให้บริการในรูปแบบต่างๆ และหนังสือ วารสารวิชาการที่มีการกล่าวไว้อย่างหลากหลาย จึงอาจกล่าวได้ว่าทฤษฎีที่เกี่ยวข้องถือเป็นสารระสำคัญของการทำวิจัยในบทที่ 2 ที่มีนักวิจัยหรือนักวิชาการได้ทำการบรรยายทฤษฏีที่เกี่ยวข้อง ในการศึกษาไว้โดยละเอียด โดยเนื้อหาในส่วนนี้ คือการแสดงผลการศึกษาหลักการ ทฤษฏีความรู้ที่เกี่ยวข้อง ที่จะนำมาใช้ในการพัฒนาการวิจัยที่ผู้วิจัยกำลังศึกษา จึงควรมีเหตุผลหรือทฤษฏีหลักการทางวิทยาศาสตร์มารองรับเพื่อสร้างความน่าเชื่อถือให้กับวิจัย และสามารถนำทฤษฎีที่เกี่ยวข้องเข้าไปเชื่อมโยงการวิจัยนั้นว่าต้องทำการปรับปรุง พัฒนา แก้ไข ส่วนใดให้ดีขึ้น  

โดยหลักการเลือกทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง จะต้องปฏิบัติดังนี้

  • ควรเลือกทฤษฎีที่เกี่ยวข้องให้สอดคล้องกับตัวแปรที่ศึกษาหรือเลือกให้ตรงกับวัตถุประสงค์ของการวิจัย
  • ควรทำการศึกษาทฤษฎีที่เกี่ยวข้องที่ใกล้เคียงกับสิ่งที่กำลังศึกษา 
  • ควรนำเสนอทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง ตามลำดับความสำคัญของตัวแปร
  • ควรหาเนื้อหาที่ทันสมัยและถูกต้องชัดเจน เชื่อถือได้

3. งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง (Related Research)

งานวิจัยที่เกี่ยวข้องจะเป็นงานวิจัยที่เคยมีการทำมาก่อนแล้ว ซึ่งผู้วิจัยได้นำมาอ้างอิงกับการศึกษาของตนเอง โดยส่วนใหญ่มักจะเป็นงานประเภทเดียวกันหรือมีการทดลองที่คล้ายกันกับงานที่ทำ รูปแบบของงานจะอยู่ในรูปของสื่อสิ่งพิมพ์ ต้องทราบแหล่งที่มาของเอกสาร เพื่อใช้ในการศึกษาค้นคว้าข้อมูลที่ได้มาเป็นตัวกำหนดทิศทางการวิจัยได้อย่างถูกต้องทำให้มีความน่าเชื่อถือ 

โดยหลักการเขียนงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง จะต้องปฏิบัติดังนี้

  • อ่าน ศึกษา และวิเคราะห์งานวิจัยที่สอดคล้องให้มาก
  • เรียงลำดับการเขียนจากกว้างไปแคบ หรือเรียงตามตัวอักษร
  • นำบทคัดย่อ สรุปผล และอภิปรายผล จากงานวิจัยที่มีเนื้อหาของงานคล้ายกับงานที่จะทำการศึกษา
  • งานวิจัยที่เกี่ยวข้องจะต้องประกอบด้วยผลงานวิจัยทั้งในประเทศ และต่างประเทศ
  • การเขียนสรุปตอนท้ายของแต่ละประเด็นที่นำเสนอผู้วิจัยจะต้องใช้ภาษาของผู้วิจัยเอง
ภาพจาก pexels.com

จึงสามารถสรุปได้ว่าการเขียนบทที่ 2 เป็นสิ่งที่สำคัญที่ต้องมีส่วนประกอบที่ได้บอกไว้ เพราะว่าจะช่วยให้ผู้วิจัยได้ทราบถึงสภาพขององค์ความรู้ในเรื่องที่จะทำการวิจัย หากทำตามข้อปฏิบัติตามคำแนะนำของบทความผู้วิจัยจะสามารถหลีกเลี่ยงการทำงานวิจัยที่ซ้ำซ้อนกับผู้อื่นได้  ส่วนการนำเสนอข้อมูลจะต้องมีแนวคิดพื้นฐานเชิงทฤษฎีในเรื่องที่จะทำการวิจัยอย่างเพียงพอ เพื่อที่จะช่วยให้เห็นถึงแนวทางในการดำเนินงานวิจัยของตนเอง นอกจากนั้นจะต้องมีหลักฐานอ้างอิง เพื่อสนับสนุนในการอภิปรายผลการวิจัย สร้างคุณภาพ และได้มาตรฐานเชิงวิชาการให้แก่งานวิจัยนั้น เพียงขั้นตอนเท่านี้ก็จะทำให้การทำบทที่ 2 ไม่ใช่เรื่องยากอีกต่อไป

ช่องทางติดต่อ
Tel: 0924766638 คุณอาจุ้ย
อีเมล: ichalermlarp@gmail.com
LINE: @impressedu
(หยุดทุกวันอาทิตย์)

งานวิทยานิพนธ์

งานวิทยานิพนธ์ คือ

วิทยานิพนธ์ หรือชื่อที่เราคุ้นเคยอีกอย่างหนึ่งว่า thesis นั่นเอง!! อาจกล่าวได้ว่าวิทยานิพนธ์เป็นผลงานหนึ่งของผู้ที่กำลังจะจบการศึกษาทุกคนจะต้องจัดทำขึ้น เพื่อวัดความรู้ความสามารถจากสิ่งที่ได้รับจากการศึกษาตลอดหลักสูตรที่ได้เรียนมา อีกทั้งผู้ที่จัดทำวิทยานิพนธ์อีกกลุ่มหนึ่งที่จะต้องจัดทำผลงานเช่นกันจะเป็นกลุ่มนักวิจัย หรือนักวิชาการต่างๆ ที่จะต้องจัดทำวิทยานิพนธ์เพื่อใช้เลื่อนขั้น เลื่อนตำแหน่งปรับฐานเงินเดือนของตนเอง วิทยานิพนธ์ในความหมายของบทความนี้จึงเป็นงานวิจัยทางด้านวิชาการที่ได้มีการไตร่ตรอง หรือมีการวางแผน ผ่านงานวิทยานิพนธ์ออกมาอย่างมีรูปแบบ และเป็นระเบียบแบบแผน โดยผู้วิจัยได้มีการนำทฤษฎีทั้งในและต่างประเทศมาผ่านกระบวนการคิดวิเคราะห์ ตามขั้นตอน วิธีการ ในการรวบรวมข้อมูลต่างๆ และอ้างอิงตามหลักการ ของการทำวิทยานิพนธ์ จนได้ข้อมูลที่มีความน่าเชื่อถือ ซึ่งขั้นตอนต่างๆ ที่กล่าวมานั้นต้องจัดทำเพื่อเป็นการหาคำตอบของคำถามในงานวิจัย ในการนำมาสนับสนุนหรือยืนยันทฤษฎีที่ตนเองได้กล่าวสรุปในงานวิจัย อีกทั้งเมื่อจัดทำวิทยานิพนธ์สำเร็จ จะถือว่างานชิ้นนั้นเป็นเกียรติคุณของผู้จัดทำที่ได้เสียสละเวลาและมุ่งมั่นในการจัดทำวิทยานิพนธ์ เพื่อคิดค้นสิ่งใหม่ หรือเป็นใบเบิกทางในสายอาชีพต่างๆ ที่ผู้วิจัยสนใจในอนาคต และต้องการจะค้นคว้าหาข้อมูลในเรื่องที่ตัวเองสนใจ

ผู้เขียนจึงอยากจะอธิบายส่วนประกอบสำคัญในการทำวิทยานิพนธ์ให้ผู้อ่าน ได้นำไปตรวจสอบวิทยานิพนธ์ของท่านว่ามีองค์ประกอบครบตามหลักการทำวิทยานิพนธ์หรือไม่ ซึ่งหากมีสิ่งใดขาดหายไปท่านจะได้นำมาเพิ่มเติมเพื่อให้งานวิทยานิพนธ์ของท่านมีความสมบูรณ์มากยิ่งขึ้น

ส่วนประกอบที่สำคัญในการทำวิทยานิพนธ์

ภาพจาก www.Pixabay.com

ในการที่จะทำวิทยานิพนธ์จะมีส่วนประกอบหลักๆ ด้วยกันทั้งหมด 3 ส่วน ได้แก่ ส่วนนำ ส่วนของเนื้อหา และส่วนท้าย โดยเนื้อหาส่วนใหญ่จะต้องควรมีอย่างน้อย 50 หน้า ซึ่งสามารอธิบายรายละเอียดได้ดังต่อไปนี้

1.ส่วนนำ จะมีองค์ประกอบดังนี้

ปกนอก องค์ประกอบของปกนอกจะประกอบไปด้วย 3 ส่วน  ส่วนที่ 1 จะบอกถึงชื่อวิทยานิพนธ์ทั้งภาษาไทย และภาษาอังกฤษ ส่วนที่ 2 ชื่อผู้จัดทำเป็นภาษาไทย ส่วนที่ 3 บอกถึงคำจำกัดความของวิทยานิพนธ์

ปกใน จะมีลักษณะของปกคล้ายๆ กับปกนอก ตัวอักษรสีดำ โดยมีข้อความเหมือนปกนอก แต่ในการจัดพิมพ์จะใช้ระยะห่างจากขอบกระดาษแบบเดียวกับการพิมพ์รายงาน

ใบรับรองผลสอบวิทยานิพนธ์ ในเล่มจะมีการแนบใบรับรองผลการสอบเข้าไปในเล่มด้วย

บทคัดย่อ มีทั้งภาษาไทย และอังกฤษควรที่จะทำแยกหน้ากัน มีส่วนประกอบอยู่ 2 ส่วน คือ ส่วนที่ 1 เป็นส่วนประกอบที่บอกถึงข้อมูลในการจัดทำวิทยานิพนธ์บอกถึงชื่อหัวข้อผู้จัดทำ หลักสูตร ปีการศึกษาที่จัดทำ อาจารย์ที่ปรึกษา ส่วนที่ 2 เป็นส่วนที่บรรยายถึงภาพรวมของวิทยานิพนธ์ที่ได้จัดทำทั้งหมดรวมถึงผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น เพื่อให้ผู้ที่สนใจในงานวิจัยได้อ่านทำความเข้าใจ 

กิตติกรรมประกาศ เป็นส่วนที่เขียนเพื่อเป็นการให้เกียรติ หรือขอบคุณแก่ผู้ที่ให้การสนับสนุนช่วยเหลือ

สารบัญ สารบัญรูปภาพ และสารบัญตาราง เป็นส่วนที่บอกตำแหน่งหน้าของหัวข้อ รูปภาพ และตารางในงานโดยเรียงตามลำดับหัวข้อ

2.ส่วนเนื้อหา  จะประกอบไปด้วย

บทที่ 1 บทนำ เป็นการนำเสนอ เพื่อให้ผู้อ่านได้ทราบว่ามีความเป็นมา และความสำคัญอย่างไร แนวทางในการทำ วัตถุประสงค์ ขอบเขตของงาน เพื่อให้ผู้อ่านสามารถมองภาพรวมได้เบื้องต้น

บทที่ 2 ทฤษฎี และงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง เป็นการอธิบาย พื้นฐาน หรือทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง ที่ผู้อ่านต้องรู้ หรือเข้าใจก่อนที่จะอ่านเนื้อหาในบทต่อไป

บทที่ 3 ระเบียบการวิจัย อธิบายองค์ประกอบที่เกี่ยวข้องทั้งหมด ในการศึกษาค้นคว้า

บทที่ 4 ผลการทดลอง หรือผลการศึกษา บทนี้จะเป็นบทที่นำเสนอสิ่งที่ผู้วิจัยได้ค้นพบเพื่อยืนยันว่าสิ่งที่ทำขึ้นนั้นบรรลุวัตถุประสงค์หรือไม่

บทที่ 5 สรุปผลการวิจัย อภิปรายผล และข้อเสนอแนะ เป็นการสรุปการดำเนินงานทั้งหมดที่ผ่านมาว่าตรงตามวัตถุประสงค์หรือไม่ มีการอภิปรายผลโดยนำงานวิจัยที่เกี่ยวข้องที่ได้ศึกษามาวิเคราะห์สอดคล้องกับผลการศึกษา และอาจมีข้อเสนอแนะในการที่จะสามารถต่อยอดงานในอนาคต

3.ส่วนท้าย จะประกอบไปด้วย

เอกสารอ้างอิง หมายถึง รายชื่อหนังสือ วารสาร เอกสาร หนังสือ สิ่งพิมพ์อื่นๆ โสตทัศนวัสดุ 

ภาคผนวก เป็นส่วนประกอบที่เพิ่มเข้ามาเพื่อทำให้งานสมบูรณ์มากขึ้น

ผลการวิเคราะห์ จะเป็นการแนบตัวผลงานที่ผู้วิจัยวิเคราะห์ผ่านโปรแกรมสถิติสำเร็จรูป หรือบทสัมภาษณ์ที่ผู้วิจัยได้ไปสัมภาษณ์ หรือรูปภาพระหว่างการจัดทำวิทยานิพนธ์ เพื่อแสดงสิ่งที่ผู้วิจัยได้จัดทำมาทั้งหมด

อาจสรุปได้ว่าในการที่จะทำให้วิทยานิพนธ์ของผู้วิจัยให้สมบูรณ์ ผู้วิจัยควรที่จะมีการตรวจความถูกต้องของเนื้อหาว่ามีการวิเคราะห์ในแง่มุมเชิงวิชาการ มีการนำเสนอที่เข้าใจง่าย มีการใช้ภาษาที่ถูกต้องสวยงามตามหลักไวยากรณ์ มีการนำเสนอข้อมูลที่ลึกซึ้งเป็นแผนภาพ ตาราง หรือกราฟ และส่งเสริมให้มีการขยายผลของการศึกษาหรือต่อยอดวิทยานิพนธ์ได้ในภายหลัง ได้หรือไม่

ช่องทางติดต่อ
Tel: 0924766638 คุณอาจุ้ย
อีเมล: ichalermlarp@gmail.com
LINE: @impressedu
(หยุดทุกวันอาทิตย์)

การตั้งหัวข้อวิทยานิพนธ์

เทคนิคการตั้งหัวข้อวิทยานิพนธ์ปริญญาโท

การตั้งหัวข้อวิทยานิพนธ์มีจุดประสงค์ เพื่อให้ผู้อ่านได้ทราบถึงเนื้อหาสาระของวิทยานิพนธ์ ให้มีความกระชับได้ใจความสำคัญ อาจกล่าวได้ว่าการตั้งหัวข้อวิทยานิพนธ์ที่ดีจะเป็นจุดดึงดูดให้เกิดความน่าสนใจที่จะหยิบวิทยานิพนธ์เล่มนั้นขึ้นมาอ่าน ซึ่งการที่ตั้งชื่อให้ถูกต้องตามหลักวิชาการ
ไม่ซ้ำกับคนอื่น มีการตั้งชื่อที่ชัดเจนสอดคล้องกับสาขาที่ศึกษา จะทำให้งานวิทยานิพนธ์ของท่านน่าอ่านมากยิ่งขึ้น เทคนิคในบทความนี้จึงที่จะมาเป็นตัวช่วยใหม่ ในการตั้งชื่อหัวข้อวิทยานิพนธ์ให้มีความน่าสนใจ และเป็นเครื่องมือที่ช่วยทำให้วิทยานิพนธ์การตั้งหัวข้อสมบูรณ์แบบมากขึ้น

ภาพจาก pexels.com

วิธีง่ายๆ สำหรับการตั้งหัวข้อวิทยานิพนธ์ปริญญาโท

1.ความสอดคล้องกับงาน หรือสาขาที่เรียน

ตัวของผู้วิจัยเองต้องรู้ตัวเองว่าสาขาที่เรียนมีหัวข้ออะไรบ้างที่น่าสนใจ เหมาะสมที่จะนำมาศึกษา การตั้งชื่อเรื่องหรือไม่ จึงเป็นแนวทางในการตั้งคำถาม เพื่อหาคำตอบโดยใช้กระบวนการวิจัยนั้นเอง และส่วนประกอบของชื่อเรื่องส่วนใหญ่จะเป็นตัวบ่งชี้ถึงสาขาวิชาที่ที่วิจัยเรียนมานั่นเอง

2.การสะท้อนปัญหา หรือประเด็นที่จะศึกษา

ก่อนที่จะตั้งหัวข้อวิทยานิพนธ์ได้ จะต้องรู้ปัญหาที่ต้องการอยากจะรู้ ซึ่งก่อนมีการกำหนดหัวข้อวิทยานิพนธ์ได้นั้น ท่านต้องทำการศึกษาหรือทฤษฏีที่จะนำมาศึกษามาก่อนเพื่อสะท้อนให้เห็นถึงประเด็้นที่จะศึกษา และใช้ประเด็นดังกล่าวในการประกอบการตั้งหัวข้อวิทยานิพนธ์ของท่าo

3.หัวข้อต้องมีความทันสมัย และก่อให้เกิดประโยชน์

การเลือกหัวข้อให้ทันสมัย เป็นอีกปัญหาที่ต้องพอเจอ สำหรับคนที่จะทำวิทยานิพนธ์ ซึ่งจะต้องเลือกหัวข้อที่กำลังเป็นประเด็นปัญหาที่ร้อนแรงอยู่ ณ ตอนนั้นเป็นหลัก เพื่อเพิ่มการดึงดูดให้คนทั่วไปหันมาสนใจงานของท่าน

4.กำหนดกลุ่มตัวอย่าง และพื้นที่ในการศึกษาให้ชัดเจน 

กลุ่มตัวอย่าง คือ กลุ่มประชากรบางส่วนที่ท่านสนใจจะศึกษา ส่วนพื้นที่ในการศึกษา คือ ขอบเขตของงานที่จะศึกษา ท่านสามารถนำกลุ่มตัวอย่างและพื้นที่ในการศึกษาไประบุต่อท้ายในหัวข้อวิทยานิพนธ์ของท่านได้ เพื่อให้หัวข้อข้อวิทยานิพนธ์มีความชัดเจนในขอบเขตการทำงานมากยิ่งขึ้น 

ภาพจาก pexels.com

5.การลงมือทำได้จริง

หัวข้อวิทยานิพนธ์ควรที่จะตั้งอยู่บนความเป็นจริง และเกิดปัญหานั้นขึ้นจริง  เช่น การตั้งหัวข้อชื่อเรื่อง “ความสัมพันธ์การใช้อำนาจบริหารของผู้นำในองค์กรบริษัท  ABC จำกัด (มหาชน)” ซึ่งการตั้งหัวข้อเช่นนี้ ผู้วิจัยสามารถลงมือทำหัวข้อวิทยานิพนธ์นี้ได้จริง เนื่องจากเกิดปัญหาการสร้างความสัมพันธ์ในการปฏิบัติงาน ดังนั้นจึงต้องศึกษาสาเหตุปัญหา และสัมภาษณ์ทั้งพนักงานฝ่ายปฏิบัติว่าอยากได้ผู้นำในรูปแบบไหน และสัมภาษณ์ผู้นำว่ามีการสร้างสัมพันธ์ในสถานที่ทำงานอย่างไร ซึ่งนำมาถึงการแก้ไขปัญหาดังกล่าว การตั้งหัวข้อชื่อเรื่องดังกล่าวจึงเกิดขึ้น   

จึงสรุปได้ว่า การมีเทคนิคการตั้งหัวข้อที่ดี ถือว่าตัวของผู้วิจัยเองมีความรู้ในเรื่องที่ศึกษา และยังเป็นการลดเวลาในการทำส่วนอื่นๆ ซึ่งทำให้งานเสร็จทันเป็นไปตามแผนการของผู้วิจัย ตรงตามเป้าหมายวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้อย่างรวดเร็ว นอกจากนี้การตั้งชื่อวิทยานิพนธ์ต้องมีความน่าสนใจ มีความเฉพาะตัวของเรื่องที่ทำการศึกษา แต่ต้องไม่สั้นไม่ยาวจนเกินไป และหัวข้อตรงบ่งชี้ถึงสาระสำคัญได้อย่างชัดเจน

ช่องทางติดต่อ
Tel: 0924766638 คุณอาจุ้ย
อีเมล: ichalermlarp@gmail.com
LINE: @impressedu
(หยุดทุกวันอาทิตย์)

การวิเคราะห์ข้อมูล

5 เทคนิคหลักการวิเคราะห์ข้อมูล ทำอย่างไรให้เสร็จไว จบง่าย

ภาพจาก pexels.com

การวิเคราะห์ข้อมูลจัดเป็นส่วนหนึ่งในการทำวิจัย เป็นการนำเอาข้อมูลต่างๆ ที่รวบรวมได้จากการเก็บรวบรวมข้อมูลมาทำการวิเคราะห์ จัดระเบียบ แยกแยะส่วนต่างๆ เพื่อหาคำตอบตามประเด็นปัญหาการวิจัย และตามสมมุติฐานที่ได้กำหนดไว้ อาจกล่าวได้ว่าการวิเคราะห์ข้อมูลมุ่งเน้นไปที่วิธีการเชิงกลยุทธ์ โดยมีการรับข้อมูลดิบไปวิเคราะห์ เพื่อให้ข้อมูลที่แสดงออกมาในสายตาผู้อ่าน มีความเข้าใจข้อมูลที่ผู้วิจัยต้องการจะสื่อมากขึ้น ดังนั้นการวิเคราะห์ข้อมูลควรที่จะมีเทคนิคในการทำเพื่อที่จะได้ประหยัดเวลาในการวิเคราะห์ และเข้าใจในการวิเคราะห์ข้อมูลให้มากขึ้นจากการรวมเทคนิคไว้ 5 เทคนิคด้วยกัน ดังนี้

1. เลือกใช้สถิติในการวิจัยที่ไม่ต้องยากจนเกินไป 

เนื่องจากในปัจจุบันการวิเคราะห์ข้อมูล สถิติมีความหลากหลาย โดยมีทั้งสถิติระดับง่าย ระดับกลาง และระดับสูง หรือสถิติบางตัวอาจต้องใช้โปรแกรมอื่นร่วมด้วย จนทำให้ผู้วิจัยโฟกัสการทำวิทยานิพนธ์ผิดจุด ไปเน้นการวิเคราะห์สถิติแปลกใหม่ ให้ดูว่างานวิจัยของท่านนั้นมีการวิเคราะห์สถิติระดับสูง หรือไม่ผูู้วิจัยบางท่านก็อาจมีท้อไปเลยก็มี เพราะนอกจากจะเหนื่อยในการจัดระเบียบ แยกแยะส่วนต่างๆ ของข้อมูลแล้ว ยังต้องมาศึกษาสถิติที่ท่านไม่รู้จัก ซึ่งผู้เขียนมีความคิดเห็นว่าสถิติในการวิจัยบางครั้งไม่จำเป็นต้องใช้สถิติขั้นสูงก็ได้ เพียงแค่ใช้สถิติที่สามารถตอบโจทย์วัตถุประสงค์ของงานได้ และสามารถวิเคราะห์ข้อมูลออกให้ผู้อ่านเข้าใจได้ง่าย ก็ถือว่าเป็นการบรรลุวัตถุุประสงค์ของการทำวิจัยแล้ว ในทางตรงกันข้ามหากผู้วิจัยใช้สถิติขั้นสูง อย่างเช่น SEM หรือ AMOS ซึ่งต้องใช้โปรแกรมอื่นเข้ามาใช้ในการวิเคราะห์และสร้างโมเดลร่วมด้วย นอกจากผู้อ่านผลงานจะไม่เข้าใจแล้ว ผู้อ่านจะไม่สนใจงานวิจัยของเราด้วย

2. ใช้เทคโนโลยีเข้ามาช่วยในการทำงาน

สำหรับการวิเคราะห์ข้อมูล ในปัจจุบันเราได้นำเอาเทคโนโลยีเข้ามาช่วยในการสร้างและแชร์แบบสอบถามออนไลน์ ผ่านแพลตฟอร์ม Google Forms ทำให้การวิเคราะห์ข้อมูลของเรารวดเร็วยิ่งขึ้น ผู้ตอบแบบสอบถามสามารถตอบได้พร้อมกันภายในครั้งเดียวภายในเวลาไม่กี่นาที อีกทั้งผู้วิจัยสามารถดูข้อมูลคำตอบได้แบบเรียลไทม์อีกด้วย ไม่ว่าจะตอบแบบสอบถามทางมือถือ แท็บเล็ต หรือคอมพิวเตอร์ ซึ่งแตกต่างกับการวิเคราะห์ข้อมูลที่ผ่านมา ที่ต้องสร้างแบบสอบถามขึ้นมา หลังจากนั้นนำมาถ่ายเอกสารตามจำนวนกลุ่มตัวอย่าง และต้องจ้างคนหลายคนไปช่วยเก็บแบบสอบถามตามพื้นที่ ที่ผู้วิจัยศึกษา ซึ่งการทำงานในลักษณะนี้ ผู้เขียนถือเป็นว่าเสียเวลามากในการทำงานเพราะต้องใช้เวลาหลายวัน ผู้วิจัยบางท่านใช้เวลาเป็นเดือนในการทำสิ่งนี้ นอกจากเสียเวลาแล้วยังเสียค่าใช้จ่ายต่างๆ มากมาย อาทิเช่น ค่าถ่ายเอกสาร ค่าจ้างพนักงานเดินเก็บข้อมูลเป็นรายชุด ค่ากรอกแบบสอบถาม เป็นต้น หากผู้วิจัยหันมาใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีดังกล่าวซึ่งเป็นแพลตฟอร์มที่เปิดให้ใช้ฟรี จะช่วยให้ลดเวลาการทำงานได้อย่างมหาศาล และจะทำให้งานเสร็จ จบง่าย ตามที่ได้ตั้งเป้าหมายไว้ด้วย

ภาพจาก google.com
ภาพจาก google.com
ภาพจาก google.com

3. การจัดระเบียบความคิดของผู้วิจัย

การจัดระเบียบความคิดของผู้วิจัยนี้ มีความสำคัญมากกว่าการเลือกใช้เครื่องมือเสียอีก หากผู้วิจัยมีการวางแผนก่อนการทำงาน มีจัดระเบียบการทำงานว่าส่วนไหนทำก่อน-หลัง และทำตามเป้าหมายที่ได้วางไว้ไปตามลำดับขั้นตอน ผู้วิจัยจะสามารถวิเคราะห์ข้อมูลได้อย่างรวดเร็วขึ้นมากค่ะ ในทางตรงกันข้ามหากผู้วิจัยไม่จัดระเบียบความคิด ท่านจะละเลยการทำสิ่งนั้น และไปทำสิ่งอื่นก่อนที่ไม่ใช่งาน ก็จะส่งผลให้การวิเคราะห์ ไม่เสร็จตามแผนที่ได้วางไว้ก่อนหน้า

4. เข้าหาคนที่มีความเชี่ยวชาญมากกว่าเรา

การเข้าหาคนที่มีความเชี่ยวชาญมากกว่าไม่ได้ทำให้ผู้วิจัยดูแย่ หรือไม่มีความรู้ในเรื่องนั้น โดยเฉพาะการเข้าหาที่ปรึกษา มีผู้วิจัยหลายท่านไม่กล้าเข้าหาที่ปรึกษา เพราะกลัวว่าที่ปรึกษาจะดุ จนทำให้ผู้วิจัยละเลยการทำวิจัย จนปล่อยระยะเวลาเนิ่มนานเป็นปี ทำให้งานไม่เสร็จเสียที แต่ท่านรู้หรือไม่ว่าการเข้าหาคนที่มีความเชี่ยวชาญหรือที่ปรึกษาบ่อยๆ นั้น จะทำให้ท่านได้รับความรู้เพิ่มเติม และที่ปรึกษาจะคอยแนะนำแนวทาง หรือเทคนิคต่าง ผู้วิจัยควรทำในการวิเคราะห์ข้อมูลให้เสร็จไวขึ้นได้ค่ะ

5. หาความรู้ ที่ใช้เป็นเทคนิคในการวิเคราะห์ข้อมูลเพิ่มเติม 

กากรหาความรู้ เพื่อที่จะนำมาใช้ ถือเป็นพื้นฐานของการวิเคราะห์ข้อมูลว่าผูู้วิจัยนั้นมีความรู้มากน้อยเพียงพอสำหรับนำความรู้นั้นมาช่วยในการวิเคราะห์ข้อมูลหรือไม่ ดังนั้นการวิเคราะห์ข้อมูลจะไม่สมเหตุสมผลเลย หากยังขาดความรู้ความเข้าใจในเรื่องนั้น ผู้วิจัยจึงจำเป็นที่จะต้องมีความรู้ที่เกี่ยวข้องเข้ามาเป็นองค์ประกอบในการวิเคราะห์ เช่น การศึกษาข้อมูลการวิเคราะห์ข้อมูลจาก Youtube จากบทความต่างๆ ซึ่งในคลิปหรือบทความเหล่านั้นจะมีเทคนิคต่างๆ ที่จะทำให้การวิเคราะห์ข้อมูลของท่านเสร็จไว และจบง่ายตามจุดประสงค์ของท่าน

ภาพจาก pexels.com

ทั้งนี้เทคนิคการวิเคราะห์ข้อมูลที่กล่าวมาจะเป็นส่วนที่เข้าไปช่วยเสริมในการวิเคราะห์ข้อมูลให้ของคุณให้เสร็จทันตามเวลาที่กำหนดอย่างแน่นอน และขอแนะนำว่าให้คุณย้อนกลับไปอ่านจุดมุ่งหมายหัวข้อการเลือกข้อมูลที่ได้มา แล้วนำมาจัดหมวดหมู่ จะทำให้การวิเคราะห์ข้อมูลของคุณมีความชัดเจนน่าสนใจเป็นที่น่าจับตามองของคนอ่านมากยิ่งขึ้น

ช่องทางติดต่อ
Tel: 0924766638 คุณอาจุ้ย
อีเมล: ichalermlarp@gmail.com
LINE: @impressedu
(หยุดทุกวันอาทิตย์)

การตั้งหัวข้อวิจัย

3 เทคนิค การตั้งหัวข้อวิทยานิพนธ์ปริญญาโท ตั้งอย่างไรให้ผ่านง่ายๆ

ภาพจาก pexels.com

ปัญหาอันดับต้นๆ ของการทำวิทยานิพนธ์ คือการตั้งหาข้อ จะตั้งหัวข้ออะไรดีที่ให้มีความน่าสนใจที่จะไม่ซ้ำกับคนอื่น และทำอย่างไรให้ถูกใจอาจารย์ที่ปรึกษา เพราะฉะนั้นสิ่งที่จะเป็นใบเบิกทางไปสู่ผลสำเสร็จ หัวข้อที่ตั้งต้องมีความกระชับ กะทัดรัด และแสดงถึงประเด็นที่ต้องการจะศึกษา บทความนี้จะมานำเสนอ 3 เทคนิค การตั้งหัวข้อวิทยานิพนธ์ปริญญาโท ตั้งอย่างไรให้ผ่านง่าย ๆ กันคะ

1.ตั้งชื่อตามสิ่งที่ตนเองสนใจศึกษา

ให้ลองคิดทบทวนว่าคุณสนใจสิ่งใด แล้วสิ่งที่สนใจตรงกับสาขาวิชาที่ศึกษาหรือไม่ เนื่องจากในแต่ละสาขาจะหลักการแนวคิดเป็นของตัวเอง หากตั้งให้ตรงได้จะทำให้คุณหมดปัญหาในขั้นตอนแรกไปได้ ดังนั้นชื่อเรื่องจึงควรที่จะมีความชัดเจน รัดกุม สื่อไปถึงความหมายของเนื้อหา ระบุถึงปัญหา เช่น ศึกษาอยู่ในสาขาเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์ ก็ควรที่จะศึกษาสถานการณ์ในปัจจุบันว่ามีแนวโน้มที่มีความเกี่ยวข้องอะไรบ้าง ให้อยู่ในกรอบงานที่จะทำ และสอดคล้องกับสถานการณ์

2.ทำในสิ่งที่ถนัดเชี่ยวชาญ

หากหัวข้อการทำวิทยานิพนธ์ที่คุณทำนั้น เป็นสิ่งที่คุณถนัด มีความชำนาญ หรือตรงกับสายอาชีพจะเป็นการต่อยอดผลงานได้ดี สามารถนำมาต่อยอดจากงานวิจัยเล่มเดิมที่เคยทำมาแล้ว วิธีนี้จะเป็นการทำให้คุณคิดหัวข้อได้เร็ว และเลือกหัวข้อได้ไว เนื่องได้มีการทบทวนในสิ่งที่ทำมาแล้วบ้างบางส่วน แล้วนำไปเสนออาจารย์ที่ปรึกษา เพื่อหาแนวทางในการปรับหัวข้อวิทยานิพนธ์ของคุณได้ 

ภาพจาก pexels.com

3.ตั้งหัวข้อให้มีการเข้ากับสถานการณ์ปัจจุบัน

จากสถานการณ์ต่างๆ ในปัจจุบัน ทำให้เกิดสิ่งต่างๆ ที่น่าใจมากมายขึ้น คุณอาจจะนำเอาสิ่งเหล่านี้มาเป็นประเด็นในการตั้งชื่อเรื่องของคุณ ให้คุณทำการคาดการณ์ถึงกระแสนิยม แนวโน้มเหตุการณ์ที่กำลังจะเกิดขึ้น จะทำให้คุณมีผลข้อมูลมากพอที่ใช้ในการศึกษา และสามารถนำผลของข้อมูลที่ได้ไปปรับใช้ได้ทันที ซึ่งจะเป็นการสอดคล้องกับสถานการณ์จริงที่เกิดขึ้น หรือคาดว่าที่จะเกิดขึ้น 

ภาพจาก pexels.com

ดังนั้น การที่เลือกหัวข้อให้เข้ากับตัวเองที่เหมาะสมจะเป็นการเริ่มต้นที่ดี และควรจะเลือกหัวข้อให้อยู่ในกรอบของงานที่จะทำให้มีความหมายที่ชัดเจน หากทำตาม 3 เทคนิคนี้ได้ ก็จะทำให้คุณนำหน้าหลายๆ คนที่ยังไม่ทำตามได้ เพื่อให้ท่านได้ทำงานวิจัยที่ท่านชื่นชอบ เป็นประเด็นเนื้อหาให้เข้ากับปัจจุบัน นำไปปรับใช้ต่อยอดให้เกิดความคุ้มค่าที่สุด

ช่องทางติดต่อ
Tel: 0924766638 คุณอาจุ้ย
อีเมล: ichalermlarp@gmail.com
LINE: @impressedu
(หยุดทุกวันอาทิตย์)

เทคนิคการตั้งหัวข้อการทำ IS ให้ผ่านง่ายๆ

4 เทคนิค การตั้งหัวข้อการทำ IS ตั้งอย่างไรให้ผ่านง่ายๆ

ภาพจาก canva.com

ก่อนที่จะรู้เทคนิคการตั้งหัวข้อการทำ IS ก็ควรที่จะรู้ก่อนว่า IS คืออะไร

ในระดับการศึกษาปริญญาโทนอกจากจะมีการทำวิทยานิพนธ์ที่เป็นงานหลักแล้ว สิ่งที่สำคัญอีกอย่างหนึ่งที่จะต้องจัดทำคือ การค้นคว้าอิสระ หรือที่นักศึกษาปริญญาโทเรียกติดปากว่า IS เป็นกระบวนการให้นักศึกษาทำการศึกษาค้นคว้าด้วยตนเองอย่างมีอิสระ ทำให้ตัวผู้ศึกษามีประสิทธิภาพในการพัฒนาความคิด สามารถเปิดโลกกว้างอย่างอิสระ ในเรื่องของประเด็นที่ตนเองสนใจ โดยการดำเนินการค้นคว้า แสวงหาความรู้จากแหล่งข้อมูลที่หลากหลาย มีการวิเคราะห์ สังเคราะห์ การอภิปรายแลกเปลี่ยนความคิดเห็น เพื่อนำไปสู่การสรุปองค์ความรู้ จากนั้นก็หาวิธีการที่เหมาะสมในการสื่อสารนำเสนอให้ผู้อื่นได้รับทราบ และสามารถนำความรู้ที่ได้จากการศึกษาค้นคว้าไปทำประโยชน์แก่สาธารณะ บทความนี้จะมาบอกเทคนิคในการตั้งหัวข้อ IS อย่างไรให้ผ่านง่ายๆ ซึ่งนักศึกษาปริญญาโทที่กำลังจะเริ่มทำ IS สามารถนำมาปรับใช้ในงานของตนได้

ภาพจาก pexels.com

4 เทคนิคการตั้ง หัวข้อการทำ IS ตั้งอย่างไรให้ผ่านง่าย ๆ

1.สนใจในปัญหาในเรื่องใดให้นำมาไปหัวข้อ

ใครจะรู้ว่าปัญหารอบตัวเรานี่แหละ สามารถนำมาเป็นหัวของ IS ได้ เริ่มจากปัญหาที่เกิดขึ้นจาก
รอบๆ ตัวเรา เกิดจากสิ่งที่คุณสงสัย หัวข้อในการทำ IS ที่ดีต้องไม่ซ้ำเรื่องกับคนอื่นหรือเป็นงานที่เคยมีการทำมาก่อนแล้ว เพราะว่ามันจะไม่เป็นการตอบโจทย์ปัญหาแก้ไขในข้อสงสัยของเราได้ โดยที่คุณจะต้องจับประเด็นหลักของข้อสงสัยให้มีความเฉพาะเจาะจง ชัดเจนว่าต้องการที่ค้นคว้าอะไร หากเป็นเรื่องที่แปลกใหม่ หรือมีแนวการศึกษาทดลองที่แปลกใหม่ ต้องเป็นสิ่งซึ่งแสดงอกกถึงความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ด้วย คำนึงถึงประโยชน์ของผู้ที่จะได้รับจากศึกษา เพราะจะเป็นการเพิ่มคุณค่าของผลงานที่ได้จากการค้นคว้าอย่างอิสระของคุณ หากทำแล้วไม่เกิดแนวคิดความรู้ใหม่ๆ จากการตั้งหัวข้อจะทำให้เป็นการลดคุณค่าของการทำ IS ในหัวข้อดังกล่าว

2. ชื่อหัวข้อที่แปลกใหม่เป็นจุดประกายความคิดสร้างสรรค์

การตั้งหัวข้อ IS นอกจากจะเป็นการตั้งให้ตรงตามจุดสนใจของตนเองแล้ว การคิดหัวข้อที่แปลกใหม่เป็นสิ่งที่จำเป็นทำให้คนที่สนใจเข้ามาอ่านในหัวข้อของคุณที่จะนำเสนอ หากเป็นหัวข้อที่ไม่มีความแปลกใหม่ทันสมัยจะเป็นการทำให้ทำเรื่องเดิมซ้ำๆ ไม่มีความพัฒนาก้าวหน้า ในยุคสังคมในปัจจุบันมีการพัฒนาไปอย่างรวดเร็ว การที่คิดหัวข้อแปลกใหม่ก็จะทำให้งานของคุณเป็นไปตามยุคสมัย หากหัวข้อมีความล้าหลัง หรือมีหัวข้อที่ซ้ำกับคนที่เคยทำมาแล้ว จะทำให้งานของคุณขาดประสิทธิภาพ ไม่เกิดการพัฒนา หัวข้อ IS ของคุณอาจมาจากหลายๆ แหล่งที่มา อาจเกิดมาจากการอ่านสื่อสิ่งพิมพ์ต่างๆ การเข้าไปเยี่ยมชมตามสถานที่ต่างๆ ฟังจากการบรรยายทางวิชาการ จากสื่อต่างๆ เหล่านี้ก็สามารถทำให้คุณนำมาประกอบการตั้งหัวข้อ IS ของคุณได้

3. หัวข้อที่ดีควรมีความชัดเจนของปัญหาที่จะค้นคว้า

หัวข้อที่มีความชัดเจนจะสื่อไปถึงสิ่งที่คุณกำลังจะทำ นำไปสู่การศึกษาค้นคว้าแบบมีแบบแผน มีหลักการขั้นตอนอย่างชัดเจน ทำให้เมื่อถึงการลงมือทำจริงจะสามารถลงมือทำได้อย่างรวดเร็วถูกต้องตามหลักวิชาการ การศึกษาค้นคว้าจะไม่มีการสับสนวกวน ช่วยให้ลดระยะเวลาในการทำงาน ทำให้มีเวลาเพียงพอในการไปทำส่วนอื่นๆ เพราะชื่อหัวข้อเปรียบเสมือนแนวทางจะจะกำหนดแผนการต่างๆ หากไม่มีความชัดเจนจะทำให้คุณเสียเวลาในการทำ สิ้นเปลืองต่องบประมาณที่ใช้ เวลาในการทำก็จะลดลงไปด้วยทำให้งานไม่เสร็จตามที่กำหนด เพราะฉะนั้นความชัดเจนของปัญหาเป็นการตัดปัญหาที่จะมีผลตามมา

ภาพจาก pexels.com

4. หัวข้อต้องมีประโยชน์ และมีคุณค่าในตัว

หากตั้งหัวข้อไปแล้วไม่ทำให้เกิดประโยชน์เป็นสิ่งที่ทำการศึกษาค้นคว้ามานั้นทำไปแล้วสูญเปล่า เพราะเรื่องที่คุณทำควรที่จะสร้างประโยชน์ให้กับสังคมส่วนรวมได้ สามารถนำมาช่วยแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นในสังคมให้ดีขึ้น การเขียนหัวข้อที่ไม่ดึงดูด ทำให้ไม่เกิดความน่าสนใจ ดังนั้นการตั้งหัวข้อต้องตอบโจทย์การใช้งานของผู้ที่จะเข้ามาอ่านให้ได้มากที่สุด ซึ่งคุณจะต้องใส่ใจถึงปัญหาของคนที่จะเข้ามาอ่าน ว่า IS ที่จัดทำนั้นจะเป็นการสร้างประโยชน์แก่ผู้ที่จะเข้ามาอ่านได้ การเขียนหัวข้อที่นึกถึงคนอ่านก็จะช่วยให้งานของคุณดูมีคุณค่ามากยิ่งขึ้น ผู้อ่านจะใช้เวลาในการอ่านบทความที่ให้ข้อมูลเชิงลึกมากกว่าบทความทั่วไป อาจกล่าวได้ว่าหัวข้อเรื่องนัั้นมีความสำคัญเป็นอย่างมาก ซึ่งผู้จัดทำจะต้องมองให้เห็นถึงผลลัพธ์ในด้านประโยชน์จากการศึกษาในเรื่องที่ทำ ว่าจะส่งผลต่อคนในสังคมให้ได้รับประโยชน์มากที่สุด หากไม่นึกถึงประโยชน์ที่จะได้รับงานที่ได้ทำลงไป ก็คงจะเป็นเพียงกระดาษหรือรายงานที่รวบรวมมาไว้ในเล่ม IS เพียงเท่านั้น

จึงสรุปได้ว่าหัวข้อ IS เป็นการตั้งชื่อเพื่อให้ดึงดูดให้คนอื่นเข้ามาอ่าน ซึ่งผู้ทำจะต้องยึดหลักความมีประโยชน์ทั้งต่อตัวของผู้ทำเอง และสังคม ที่จะได้รับหากตั้งมาแล้วลงมือทำไปไม่เกิดประโยชน์จากการนำสิ่งที่เรียนมาใช้จะส่งผลต่อการลดคุณค่าของการทำ IS ในหัวข้อนั้น

ช่องทางติดต่อ
Tel: 0924766638 คุณอาจุ้ย
อีเมล: ichalermlarp@gmail.com
LINE: @impressedu
(หยุดทุกวันอาทิตย์)

หัวข้อวิทยานิพนธ์เป็นที่น่าสนใจ

3 เทคนิค การตั้งหัวข้อวิทยานิพนธ์ที่น่าสนใจ

หัวข้อวิทยานิพนธ์เป็นสิ่งแรกๆ ที่เราควรจะให้ความสำคัญ ว่าจะต้องตั้งอย่างไรให้เกิดความน่าสนใจ ทำให้คนที่สนใจในเรื่องแบบเดียวกับเราเข้ามาอ่านงานของเรา หรือจะทำอย่างไรให้งานของเราไปสะดุดตาให้ผู้อื่นเข้ามาอ่านงานของเรา นอกจากการจะตั้งหัวข้อให้ผ่านแล้ว ควรที่จะตั้งให้มีความน่าสนใจด้วยไม่เช่นนั้นแล้วงานของคุณก็จะได้รับการเปิดอ่านที่น้อยมากหรือไม่มีการเปิดอ่านเลย ทำให้สิ่งที่ทำมานั้นไม่เกิดประโยชน์อะไรแม้ว่าสิ่งที่ได้ทำมีประโยชน์มากแค่ไหน แล้วจะตั้งอย่างไรให้น่าสนใจ บทความนี้จะมาบอกเทคนิคดีๆ ที่จะทำให้หัวข้อวิทยานิพนธ์มีความน่าสนใจมากขึ้น มาฝากกันค่ะ

ภาพจาก pexels.com

1.ตั้งตามสิ่งที่เราสนใจ

สิ่งที่เราสนใจนี้แหละ!! จะเป็นหัวข้อวิทยานิพนธ์อย่างดีให้กับเรา เพราะสิ่งที่เราสนใจมักจะเกิดจากปัญหาที่เกิดขึ้นกับเรา หรือเป็นสิ่งที่สนใจ อาจเกิดจากการได้เรียนในสาขา หรือจากประสบการณ์ที่ได้พบเจอ นำสิ่งที่น่าสนใจเหล่านั้นมาหางานที่เกี่ยวข้อง มาทบทวน แล้วกำหนดปัญหา ถือเป็นขั้นตอนแรกที่เราจะต้องทำ ซึ่งงานวิทยานิพนธ์ที่จะทำมันจะยากหรือง่าย ขึ้นอยู่กับปัญหาหากปัญหาที่จะทำมันยากการที่จะดำเนินการก็จะยากตามไปด้วย ปัญหาอาจจะเป็นปัญหาที่เกิดขึ้นทั่วไป ไม่เฉพาะเจาะจงเราจะต้องบอกให้ได้ว่าประเด็นหลักที่สำคัญของงานนี้คืออะไร แล้วนำมาตั้งเป็นชื่อเรื่อง และปัญหาที่มีความเฉพาะเจาะจงจะต้องระบุถึงปัญหานั้นโดยตรง อาจเกิดจากข้อย่อยๆ ที่เกิดจากปัญหาที่ไม่เจาะจงนำมาเป็นปัญหาแล้วจะต้องเขียนให้มีความชัดเจน และครบคลุมทุกปัญหาในวัตถุประสงค์ของงานวิจัย และจะมีกี่ข้อก็ได้ขึ้นอยู่กับประเด็นที่เราสนใจ

2.สิ่งที่แตกต่างทำให้หัวข้อน่าสนใจ

หัวข้อวิทยานิพนธ์หากตั้งแล้วไม่แตกต่างกับสิ่งที่คนอื่นเคยทำ จะทำให้งานที่เราทำกลายเป็นสิ่งที่ทำคนอื่นคิดว่าสิ่งที่เราทำเป็นการลอกเรียนแบบผลงานของคนอื่นได้ ดังนั้นเราควรที่จะตั้งหัวข้อวิทยานิพนธ์ให้มีความแตกต่างจากสิ่งเดิมที่เคยมีคนทำมาแล้ว จะทำให้งานของเรามีความน่าสนใจมากขึ้น หากหัวข้อที่ไม่แตกต่างจะเป็นการทำสิ่งเดิมๆ ซ้ำๆ ซึ่งไม่ทำให้เกิดประโยชน์ใหม่ๆ สิ่งที่แตกต่างจะทำให้งานที่ได้ บ่งบอกถึงความรู้ที่เรามีนั้นแตกต่างจากคนอื่น โดยก่อนจะทำให้แตกต่าง เราจะต้องมีความรู้เดิมเป็นพื้นฐาน มีความชำนาญในเรื่องนั้นก่อน จะทำให้งานที่ได้มีความน่าเชื่อถือเป็นที่ยอมรับ หากไม่มีความรู้ในเรื่องนั้น จะทำให้งานที่ได้ไม่มีประสิทธิภาพ เราจะต้องทำการทบทวนงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับปัญหาของเรา เพื่อนำมาเป็นสิ่งที่ช่วยเสริมงานวิจัยของเรา นำมาหาข้อที่จะสามารถมาต่อยอดเป็นงานของเราได้ให้มีความแตกต่างจากสิ่งเดิม เพื่อเพิ่มให้งานมีประสิทธิภาพครบถ้วนสมบูรณ์

ภาพจาก pexels.com

3. ตั้งให้อยู่ในสถานการณ์ปัจจุบัน

หัวข้อควรจะตั้งให้เห็นถึงปัจจุบัน หรือสิ่งที่เกิดขึ้นในปัจจุบันให้มากที่สุด จะทำให้งานของเรามีความทันสมัย และเกิดประโยชน์กับสิ่งที่จะนำไปใช้ให้มากที่สุด ซึ่งจะทำให้ผู้อ่านสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ในทันที หากตั้งหัวข้อวิทยานิพนธ์สิ่งที่ยังไม่เกิดขึ้นจะทำให้ไม่เกิดประโยชน์กับผู้ที่จะนำไปใช้ เพราะผู้อ่านไม่เข้าใจ จึงทำให้สิ่งที่ทำลงไปสูญเปล่าได้ เพราะในปัจจุบันนั้นมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วทำให้เกิดความรู้ใหม่ๆ ขึ้นมามากขึ้น เราเองก็จะต้องเข้าถึงและเข้าใจสังคมในยุคปัจจุบันด้วย ว่ามีอะไรกำลังเป็นที่น่าสนใจอยู่ในขณะนั้น ซึ่งต้องเป็นสิ่งที่เราสนใจ และถนัดในเรื่องนั้น หรือไม่หากเป็นสิ่งที่กำลังเกิดขึ้นในตอนนั้นจริง แต่เป็นสิ่งที่เราไม่สนใจจะทำให้การทำงานของเรานั้นไม่มีความสุข จะเป็นการทำตามสมัยไปไม่เกิดอะไรขึ้นกับตัวเองด้วยเช่นกัน จนกลายเป็นว่าทำงานนั้นไปเพื่อให้จบการศึกษา โดยที่เรานั้นไม่ได้ประโยชน์หรือนำความรู้ที่มีมาใช้เลย

ภาพจาก pexels.com

ดังนั้น การตั้งหัวข้อวิทยานิพนธ์ให้มีความน่าสนใจเป็นสิ่งที่จะดึงดูดให้มีผู้อ่านหลงเข้ามาอ่านมากขึ้น แม้ว่าจะไม่ใช่จุดประสงค์หลักในการหาข้อมูล แต่จะทำให้ผู้อ่านสงสัยว่าสิ่งที่เราทำนั้นมีอยู่ แล้วเกิดความคิดอยากที่จะทำในสิ่งที่คล้ายกับงานของคุณ และนำงานวิจัยของคุณมาเป็นต้นแบบ ต่อยอดในงานใหม่ที่จะเกิดขึ้นในอนาคต หากคุณอยากให้งานหัวข้อวิทยานิพนธ์เป็นที่น่าสนใจลองนำเอาเทคนิคที่ได้กล่าวมาไปปรับใช้กับวิทยานิพนธ์ของคุณดู ก็จะทำให้งานของคุณมีความน่าสนใจมากยิ่งขึ้นค่ะ

ช่องทางติดต่อ
Tel: 0924766638 คุณอาจุ้ย
อีเมล: ichalermlarp@gmail.com
LINE: @impressedu
(หยุดทุกวันอาทิตย์)

การตั้งหัวข้อวิทยานิพนธ์

3 เทคนิคการตั้งหัวข้อวิทยานิพนธ์ปริญญาโท

ภาพจาก pexels.com

หัวข้อวิทยานิพธ์ควรที่จะตั้งอย่างไรเป็นปัญหาแรกของผู้ที่ทำวิทยานิพนธ์ต้องเจอ จะตั้งอย่างไรให้มีความน่าสนใจ เกี่ยวข้องกับอะไรดี หัวข้อที่ตั้งไปจะผ่านความเห็นชอบจากอาจารย์ที่ปรึกษาหรือไม่ เมื่อลงมือทำไปแล้วจะซ้ำกับงานที่ได้ทำลงไปหรือไม่ แล้วจะทำอย่างไรให้หัวข้อวิจัยนั้นมีความเฉพาะเจาะจงสื่อถึงความหมายที่ต้องการจะทำต้องประเด็นปัญหาที่สนใจที่บ่งบอกให้ทราบถึงประเภทของการวิจัยที่กำลังจะทำอยู่ ซึ่งบทความนี้จะเป็นการนำเสนอ 3 เทคนิคการตั้งหัวข้อวิทยานิพนธ์ปริญญาโท ที่สามารถนำไปปรับใช้ในวิทยานิพนธ์ของคุณได้

1.ตั้งหัวข้อให้ตรงกับสาขาที่เรียน และตั้งให้ถูกใจอาจารย์

การตั้งหัวข้อวิทยานิพนธ์นั้น ควรที่ตั้งอยู่ในกรอบของสาขาที่ตัวของผู้ทำศึกษาอยู่ เพื่อจะเป็นการดึงความรู้ที่ได้ศึกษามานำมาประยุกต์กับงานที่กำลังจะทำ เป็นการแสดงให้เห็นถึงสิ่งที่เรียนมานั้นได้รับประโยชน์อะไรจากที่เรียนมา แล้วจะสามารถนำสิ่งที่เรียนมาใช้ให้เกิดประโยชน์หรือไม่ ควรที่จะศึกษางานวิทยานิพธ์ของคนอื่นที่ทำผ่านมาแล้วด้วย เพื่อเป็นการลดปัญหาการทำเรื่องเดิมซ้ำๆ แล้วนำหัวข้อที่เราตั้งไปปรึกษากับอาจารย์ที่ปรึกษาของความเห็นชอบก่อนที่จะลงมือทำ ถ้าลงมือทำไปแล้วเกิดหัวข้อไม่ผ่านจะทำให้ตัวของผู้ทำเสียเวลาในการทำ และสิ้นเปลืองงบประมาณที่ใช้ไป 

ภาพจาก pexels.com

2.การใช้วิธีการเก็บข้อมูลให้เป็นประโยชน์

ขั้นตอนในการเก็บข้อมูลถือเป็นอีกหนึ่งขั้นตอนที่สำคัญ หลังจากได้ปัญหาวัตถุประสงค์และสมมติฐานในการวิจัยแล้ว การรวบรวมข้อมูล การตรวจสอบข้อมูล และการวิเคราะห์ข้อมูล คือการที่ผู้วิจัยพยายามรวบรวมหลักฐานต่างๆ เพื่อนำมาพิจารณา วิเคราะห์วิจารณ์ แล้วสรุปผล มาเป็นคำตอบปัญหาการวิจัย ว่าเป็นไปตามที่ตั้งสมมติฐานไว้หรือไม่ วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลมีหลากหลายวิธีที่ใช้กันไม่ว่าจะเป็น การเก็บรวบรวมข้อมูลต้องเป็นไปอย่างถูกต้องเที่ยงตรง นำมาสู่การทำวิทยานิพนธ์ได้อย่างถูกต้อง ทำให้สามารถตอบคำถามของปัญหาที่สนใจได้อย่างชัดเจน

ภาพจาก canva.com

3. ตั้งหัวข้อให้ทันกับยุคสมัย

ในยุคสมัยที่เปลี่ยนไปอย่างรวดเร็วทำให้การค้นหาข้อมูลเป็นสิ่งที่ทำได้ง่ายกว่าเมื่อก่อน หากตั้งหัวข้อที่มีความทันสมัยกับยุคนั้นๆ ก็เป็นอะไรที่ทำให้งานของคุณมีการดึงดูดการเข้าถึงได้ง่าย ปัจจัยที่ทำให้เกิดหัวข้อใหม่ๆ เป็นสิ่งที่สำคัญที่ต้องนำมาประกอบการตั้งชื่อหัวข้อในการทำวิทยานิพนธ์ หากเราเกิดแนวคิด นวัตกรรมใหม่ก่อนที่จะเกิดเหตุการณ์นั้นขึ้น จะทำให้งานของคุณกลายไปที่พูดถึงในวงกว้างได้ 

ภาพจาก pexels.com

3 เทคนิคที่ได้กล่าวมานั้นมีความสำคัญอย่างยิ่งที่จะช่วยพัฒนางานของคุณให้ก้าวหน้าไม่อยู่กับที่ มีความสำคัญอย่างยิ่งสำหรับคนที่จะทำวิทยานิพนธ์ปริญญาโทให้สำเร็จ เพราะหัวข้อที่จะทำจะเป็นตัวกำหนดขอบเขตของงานวิทยานิพนธ์ที่ทำ หากหัวข้อที่ทำไม่มีความชัดเจนจะทำให้งานของคุณประสบความสำเร็จช้ากว่าคนอื่นๆ ได้

ช่องทางติดต่อ
Tel: 0924766638 คุณอาจุ้ย
อีเมล: ichalermlarp@gmail.com
LINE: @impressedu
(หยุดทุกวันอาทิตย์)

การทำวิทยานิพนธ์ปริญญาโท

การทำวิทยานิพนธ์ปริญญาโทไม่ยากอย่างที่คิด

ภาพจาก www.pixabay.com

ในปัจจุบันการที่จะเข้าถึงการศึกษาในระดับปริญญาโทไม่ใช่เรื่องยาก ทุกคนสามารถเข้าถึงการศึกษาได้ง่าย เมื่อคุณมีความพร้อมในด้านเวลา และมีทุนทรัพย์สำหรับการเรียนที่เพียงพอต่อการศึกษา คุณก็สามารถเลือกแผนการศึกษาได้ตามความสนใจทั้งภาคปกติ และภาคพิเศษ ซึ่งสถาบันการศึกษาทุกหลักสูตรจะมีการกำหนดให้ตัวผู้เรียนต้องสร้างผลงานทางวิชาการอย่างน้อยๆ 1 ชิ้น โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อนำความรู้ที่ได้จากการเรียนรู้ไปพัฒนาประเทศ และประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันให้เกิดประโยชน์สูงสุด

แต่หลายๆ คนก็ต้องเสียน้ำตาให้กับการทำวิทยานิพนธ์ปริญญาโท อาจเป็นเพราะระยะเวลาที่จำกัดในการทำวิทยานิพนธ์ ติดภาระจากงานที่รับผิดชอบอยู่ หรือแม้กระทั่งปัญหาที่กวนใจหลายๆ คนไม่ว่าจะเป็นชื่อเรื่องวิจัยที่ไม่ชัดเจน การตั้งคำถามการวิจัย และวัตถุประสงค์การวิจัยที่ไม่ตรงประเด็น การทบทวนวรรณกรรมที่ปีเก่าเกินไป แบบสอบถามที่ยังไม่ตอบโจทย์กลุ่มเป้าหมาย จนต้องรื้อเล่มวิทยานิพนธ์ทำใหม่ ทำให้เราเสียเวลาไปกับการทำวิทยานิพนธ์ จนไม่เสร็จทันเวลาที่กำหนดไว้ ผู้เขียนจึงมีเคล็ดลับการทำวิทยานิพนธ์ปริญญาโท ที่ไม่ยากอย่างที่คิดมาสรุปให้อ่านดังนี้

ภาพจาก www.pixabay.com

ก่อนอื่นเราต้องรู้ก่อนว่าวิทยานิพนธ์นั้นประกอบไปด้วย 3 องค์ประกอบ ได้แก่ ส่วนนำของเรื่อง ส่วนของเนื้อเรื่อง และส่วนประกอบท้ายเรื่อง ซึ่งแต่ละองค์ประกอบผู้เขียนจะสรุปและให้เคล็ดลับแทรกเข้าไปเพื่อให้ผู้อ่านได้เข้าใจง่ายๆ นะคะ

ภาพจาก canva.com

1. ส่วนนำของเรื่อง (Preliminary Section) 

จะมีองค์ประกอบได้แก่ ปกนอก ใบรองปก และปกใน และมีส่วนที่สำคัญในส่วนนำ คือ บทคัดย่อจะเป็นส่วนที่สรุปของวิทยานิพนธ์ ซึ่งจะกล่าวถึงสาเหตุของปัญหา วัตถุประสงค์ วิธีดำเนินการวิจัย ผลของการวิจัย และข้อเสนอแนะแบบย่อ จะทำการจัดพิมพ์ในรูปแบบภาษาไทย และภาษาอังกฤษ ควรที่จะทำแบบแยกหน้ากัน ต่อมาจะตามด้วยสารบัญเนื้อหา สารบัญตาราง และสารบัญภาพ ซึ่งส่วนนี้จะเป็นส่วนท้ายสุดที่เราจะทำเมื่อส่วนของเนื้อความเสร็จแล้ว

บทที่ 1 บทนำ (Introduction) ควรเขียนให้เห็นถึงประเด็นที่สำคัญของเนื้อเรื่องว่าเรื่องที่คุณสนใจนั้นมีความเป็นมาอย่างไร ปัจจัยอะไรที่ทำให้ก่อเกิดปัญหาจนทำให้นำมาทำการวิจัยพัฒนาให้ดีขึ้น ซึ่งส่วนประกอบของบทนำความที่จะมีเนื้อหาในการนำเสนอดังนี้

ที่มาและความสำคัญ เป็นการกล่าวถึงสาเหตุ หรือที่มาของการศึกษาค้นคว้าวิจัย บอกถึงปัญหาที่ต้องจะทำ 

คำถามของการวิจัย กำหนดขึ้นเพื่อหาคำตอบของคำถาม ซึ่งนำไปสู่การหาวิธีแก้ไขปัญหา กำหนดคำถามให้ชัดเจนไม่กำกวมเขียนจากสภาพความเป็นจริง และสื่อถึงปัญหาโดยตรง

วัตถุประสงค์ วัตถุประสงค์จะต้องมีความเป็นไปได้ มีการวัดประเมินระบุสิ่งที่ต้องกดำเนินการให้ชัดเจนมีความเป็นเหตุเป็นผล มีขอบเขตในเรื่องของเวลาที่แน่นอน

สมมุติฐานการวิจัย  บรรยายสรุปโดยแสดงให้เห็นถึงความสำคัญของปัญหาที่คุณจะทำการศึกษาพร้อมนำเสนอประเภทของงานออกแบบที่สามารถนำมาใช้เพื่อการแก้ปัญหา ต้องมีความสอดคล้อง หรือเหมาะสมที่จะใช้ทฤษฏีเข้าไปช่วยในการแก้ปัญหาอย่างไร

ขอบเขตของการวิจัย ให้พิจารณาจากปัญหา และวัตถุประสงค์ที่ทำการศึกษาเรื่องนั้นๆ จำเป็นที่จะต้องกำหนดจำนวนเรื่องที่จะทำเป็นสิ่งอ้างอิงหรือยืนยันได้ว่าผลของการศึกษาเรื่องนั้นมีความน่าเชื่อถือ

ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ การเขียนในเรื่องนี้ให้พิจารณาจากการเขียนวัตถุประสงค์เป็นข้อๆ หรือเขียนพรรณนาไม่ต้องแบ่งเป็นข้อก็ได้

นิยามศัพท์เฉพาะ เป็นการกำหนดคำศัพท์ที่ไม่คุ้นเคยขึ้นมา ให้ความหมายเฉพาะเจาะจงกับประเด็นของงานที่ทำ และเกี่ยวข้องกับการทำวิจัย

กรอบแนวคิดการวิจัย ผลจากการสรุปการศึกษา และทดลองทฤษฏีที่เกี่ยวข้องกับหัวข้อการวิจัย ผู้วิจัยจะต้องมีกรอบพื้นฐานทางทฤษฏีที่เกี่ยวข้องกับปัญหา

บทที่ 2 งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง (Review of Literature) เป็นการที่ผู้เขียนสรุปผลการศึกษาของงานวิจัยที่คล้ายกับเรื่องที่จะศึกษามาสอดคล้องให้เห็นถึงปัญหา และวิธีพัฒนาในแต่ละแบบของงานวิจัย ซึ่งแต่ละงานวิจัยที่เกี่ยวข้องจะมีประเด็นการศึกษา และพื้นที่ที่แตกต่างกันออกไป เราสามารถหยิบยกเนื้อหาที่สอดคล้องกับงานวิจัยของเรามาวิเคราะห์ได้ ส่วนประกอบที่สำคัญสำหรับการที่จะเขียนบทที่ 2 นั้นมีอยู่ 3 ส่วนดังนี้

เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง คือความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับเรื่องที่สนใจจะทำประวัติของเรื่องนั้นๆ ข้อมูลของประเด็นปัญหาที่เกี่ยวของกับระบบงานที่จะศึกษา

ทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง คือกลุ่มของความสัมพันธ์ของแนวคิดนิยาม และองค์ประกอบต่างๆ ที่ใช้อธิบายลักษณะของปรากฏการณ์หนึ่ง ทฤษฎีช่วยสร้างความสัมพันธ์ระหว่างกลุ่มตัวแปรต่างๆ โดยจะเจาะจงไปว่าตัวแปรใดสัมพันธ์กับตัวแปรใด และมีความสัมพันธ์กันอย่างไร

งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง การศึกษาเอกสารงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับวิจัยเป็นงานที่สำคัญของผู้วิจัยที่มีประสบการณ์จะทำเป็นสิ่งแรกเมื่อได้ปัญหาวิจัยมาผลจากการศึกษางานวิจัยที่เกี่ยวข้องทำให้ทราบว่านักวิจัยท่านอื่นๆ ได้ทำการศึกษาค้นคว้าเกี่ยวกับปัญหาวิจัยของตนไว้อย่างไรบ้าง งานที่นักวิจัยท่านอื่นเคยทำมาก่อนนำมาอ้างอิงกับการศึกษาของตนเอง

บทที่ 3 วิธีการวิจัย (Research Methodology) เป็นการอธิบายวิธีขั้นตอนในการทำการศึกษาวิจัยอย่างละเอียดว่าต้องใช้เครื่องมืออย่างไร รวมไปถึงการอธิบายถึงขั้นตอนการคำนวณต่างๆ  ในส่วนของบทที่ 3 จะเป็นขั้นตอน การกำหนดปัญหา วางแผนออกแบบ กำหนดกลุ่ม การเก็บรวบรวมข้อมูลวิเคราะห์ข้อมูลสรุป และรายงาน ตีความหมาย แล้วจึงจะทำการเขียนรายงานการวิจัยถือว่าเป็นการเสร็จงานในขั้นตอนของบทที่ 3 อย่างสมบูรณ์

บทที่ 4 ผลการวิจัย (Results) เป็นการแสดงผลการวิจัยให้ชัดเจนโดยอาจจะใช้ กราฟ ตาราง หรืออื่นๆ ที่เหมาะสม การเขียนบทที่ 4 ให้กำหนดหัวข้อตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ใบบทที่ 1 โดยจะต้องเสนอผลไปตามลำดับของวัตถุประสงค์ โดยการเขียนจะเป็นแบบบรรยายให้เข้าใจง่าย การเขียนข้อมูลในบทนี้จะเป็นการนำไปใช้สำหรับการสร้างสรรค์การออกแบบเพื่อเป็นการแก้ปัญหาตามโจทย์ของการวิจัย

บทที่ 5 สรุปผลการวิจัย อภิปรายผล และข้อเสนอแนะ (Conclusions Discussion and Recommendations) ในส่วนนี้จะเป็นการสรุปเนื้อหาสาระที่ได้ศึกษามาทั้งหมดโดยจะต้องอ้างอิงถึงวัตถุประสงค์ อ้างอิงทฤษฏีที่เกี่ยวข้องมาสนับสนุนให้มีความน่าเชื่อถือมากยิ่งขึ้น ไปจนถึงเสนอแนะแนวทางเพื่อการศึกษาวิจัยในเรื่องเดียวกันนี้ต่อไป

3. ส่วนประกอบท้ายเรื่อง (Reference Section) ประกอบไปด้วย 3 ส่วน  ได้แก่ 

รายการอ้างอิง (References) เป็นการอ้างอิงถึงชื่อหนังสือ หรือสิ่งพิมพ์อื่นๆ ที่นำมาประกอบการในการเขียนวิทยานิพนธ์

ภาคผนวก (Appendix) เป็นส่วนที่เพิ่มเติมขึ้นมาเพื่อช่วยเสริมความเข้าใจในเนื้อหาสาระของเรื่องนั้นๆ อาจมีหรือไม่มีก็ได้ตามความเหมาะสม

ประวัติผู้เขียน (Biography) เป็นประวัติโดยย่อของผู้ที่ทำวิทยานิพนธ์

ซึ่งเนื้อหาที่กล่าวมาข้างต้นจะทำให้การทำวิทยานิพนธ์ปริญญาโทไม่ยากอย่างที่คิดหากคุณนำเคล็ดลับที่เราได้ให้ในบทความนี้ ไปใช้ประโยชน์ในการทำวิทยานิพนธ์ของคุณ ซึ่งขั้นตอนดังกล่าวจะสามารถทำให้งานวิทยานิพนธ์ของคุณมีความน่าเชื่อถือ และเป็นที่ยอมรับได้จนนำออกตีพิมพ์วารสารต่างๆ เพื่อเป็นประโยชน์ต่อสังคมได้ไม่มากก็น้อย

ช่องทางติดต่อ
Tel: 0924766638 คุณอาจุ้ย
อีเมล: ichalermlarp@gmail.com
LINE: @impressedu
(หยุดทุกวันอาทิตย์)

วิทยานิพนธ์บทที่ 1 ทำอย่างไร

การเขียนวิทยานิพนธ์บทที่ 1 ทำยากไหม มีขั้นตอนการทำอย่างไร?

การเขียนบทที่ 1 ถือว่าเป็นจุดเริ่มต้นของการทำวิทยานิพนธ์ เนื่องจากว่าผู้ศึกษาจะต้องไปศึกษาว่าหลักการของการทำวิทยานิพนธ์ในเรื่องที่ทำมีความสำคัญอย่างไร มีปัญหาอย่างไร ทำไมถึงต้องทำเรื่องนี้ ซึ่งการศึกษาดังกล่าวจะทำให้ผู้ศึกษาสามารถชี้ประเด็นให้เห็นถึงปัญหาของเรื่องที่ศึกษาได้อย่างชัดเจน นอกจากนั้นผู้ศึกษาจะต้องทำการศึกษาว่าในบทที่ 1 นั้นจะต้องมีส่วนประกอบที่สำคัญอะไรบ้าง ไม่ว่าจะเป็นภูมิหลังของการวิจัย การตั้งจุดมุ่งหมายของการวิจัย ประโยชน์ของการวิจัย กรอบแนวคิด ขอบเขตของงานวิจัย ซึ่งท่านจะสามารถนำขั้นตอน และเทคนิคในการทำวิทยานิพนธ์บทที่ 1 ที่กล่าวไว้้ในบทความนี้ไปปรับใช้ได้ ซึ่งมีขั้นตอนดังต่อไปนี้

1. การเขียนภูมิหลังของการวิจัย

ภูมิหลังของการวิจัยหรือบทนำนั้นเปรียบเสมือนการเล่าเรื่องให้ผู้้อ่านฟัง ดังนั้นภูมิหลังจะทำหน้าที่เป็นการแนะนำให้ผู้ที่เข้ามาอ่านงานของผูู้ที่ศึกษาได้รู้ความเป็นมา หลักการ เหตุผล ความสำคัญ และปัญหาของวิทยานิพนธ์ เป็นการตอบคำถามที่ว่าทำไมถึงผู้ศึกษาถึงจะต้องทำเรื่องนี้ขึ้นมา โดยทั่วไปจะเขียนประมาณ 3-5 หน้า และจะมีย่อหน้าไม่เกิน 7 ย่อหน้า และแต่ละย่อหน้าต้องมีเนื้อหาที่เนื้อหาที่สอดคล้องกับชื่อเรื่องที่ผูู้ศึกษาจะทำ ซึ่งเทคนิคในการเขียนภูมิหลังที่ดี ต้องชี้เห็นถึงปัญหาความสำคัญชัดเจนของประเด็นที่ศึกษา ชี้ถึงแนวโน้มในอนาคต มีการใช้ภาษาที่ถูกต้องในการเขียน  และจะไม่มีกฏเกณฑ์ที่ตายตัวในการเขียน แต่ประเด็นต้องมีความชัดเจน สั้น ได้ใจความที่สำคัญชี้ถึงปัญหา และอยู่ในกรอบของการวิจัยที่ตั้งไว้ เพื่อที่จะได้ไม่หลงประเด็นในการเขียน

2. การเขียนวัตถุประสงค์ หรือจุดมุ่งหมายของงานวิจัย

การเขียนวัตถุประสงค์หรือการตั้งจุดมุ่งหมายของงานวิจัย จะตั้งเป็นข้อหรือไม่เป็นข้อก็ได้ขึ้นอยู่กับสิ่งที่จะทำการศึกษา โดยการตั้งจุดมุ่งหมายของงานวิจัยต้องมามาจากเรื่อง และตัวแปรของการวิจัยโดยจะขึ้นต้นด้วยคำว่า “เพื่อ…” แล้วตามด้วยชื่อวิจัย ซึ่งเทคนิคในการตั้งจุดมุ่งหมายต้องมีความชัดเจน เข้าใจง่าย ไม่ซ้ำซ้อน เป็นประโยคบอกเล่า สามารถตรวจสอบหรือทดสอบได้ และมีความสัมพันธ์ระหว่างประเด็นหรือหัวข้อจุมุ่งหมายของวิจัย

3.ประโยชน์ของการวิจัย

ประโยชน์ของการวิจัยนั้นเป็นตัวที่บ่งชี้ว่า หลังจากที่ทำเสร็จแล้วผู้ศึกษาจะได้อะไรจากงานบ้าง ซึ่งเป็นผลที่คาดว่าจะได้รับ ซึ่งเทคนิคในการตั้งประโยชน์ของการวิจัยควรอยู่ในขอบเขตการวิจัย ไม่ควรอ้างประโยชน์ของการวิจัยที่เกินขอบเขตของเรื่องที่จะศึกษา ควรเขียนความสำคัญให้ชัดเจน และสอดคล้องกับจุดมุ่งหมายของการวิจัย

4. กรอบแนวคิดของการวิจัย

กรอบแนวคิดของการวิจัย ถือเป็นแผนที่ของการทำวิจัยเลยก็ว่าได้ ส่วนใหญ่จะพบในงานวิจัยเชิงปริมาณ ซึ่งกรอบแนวคิดจะต้องระบุว่างานวิจัยชิ้นดังกล่าวมีตัวแปรอะไรบ้าง และตัวแปรแต่ละอย่างที่เลือกมาศึกษาจะต้องมีความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปร และแต่ละตัวแปรที่เลือกมาศึกษาจะต้องมีความสอดคล้องกับตรงกับทฤษฎีที่เลือกมาศึกษา หรือเกี่ยวข้องกับสิ่งที่เราจะศึกษา

5. ขอบเขตของการวิจัย

ขอบเขตของการวิจัยเป็นการระบุว่าวิจัยนั้นจะทำในเรื่องอะไร มีขอบเขตที่กว้างหรือแคบ จะทำการศึกษากับใคร จะมีส่วนประกอบย่อยได้แก่ ประชากรที่ใช้ในการวิจัย กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ เนื้อหาที่ใช้ส่วนใหญ่จะพบอยู่ในการวิจัยเชิงทดลอง ตัวแปรที่ใช้ในการวิจัยจะแบ่งเป็นตัวแปรอิสระและตัวแปรตาม ระยะเวลาที่ใช้ในการทดลองว่าตั้งแต่เริ่มต้นจนจบใช้เวลาเท่าไร

6. สมมติฐานของการวิจัย

สมมติฐานการวิจัยจะเป็นกล่าวถึงข้อสันนิฐาน การคาดคะเนผลการวิจัยนั้น ว่าค้นพบอย่างไร โดยจะต้องเขียนอยู่บนพื้นฐานของความเป็นจริง ต้องสอดคล้องกับจุดมุ่งหมาย สามารถกำหนดทิศทางของความสัมพันธ์ได้อย่างชัดเจน ซึ่งผูู้ศึกษาจะต้องสามารถทดสอบสมมติฐานดังกล่าวได้จากหลักการและเหตุผลทางทฤษฎีที่ได้้ศึกษามา และต้องใช้ภาษาที่ชัดเจน เข้าใจง่าย และรัดกุม

7. นิยามศัพท์เฉพาะ

นิยามศัพท์นั้นมีความสำคัญอย่างยิ่งที่ต้องมีในงานวิจัย เพราะงานวิจัยแต่ละงานจะมีการให้นิยาม ความหมายของคำหรือบริบทในเรื่องที่ศึกษาที่แตกต่างกันออกไป ดังนั้นคำบางคำผู้ศึกษาอาจไม่สามารถที่จะอธิบายข้อเท็จจริงทั้งหมดได้ การให้คำอธิบายเพื่อขยายความคำศัพท์คำนั้น จึงเป็นสิ่งสำคัญมากที่จะอธิบายให้ผู้อ่านได้เข้างานของเราได้อย่างถูกต้อง และตรงประเด็นมากที่สุด ซึ่งเทคนิคในการเขียนนิยามศัพท์ ผู้ศึกษาจะต้องเลือกตัวแปรที่เกี่ยวข้อง หรือเลือกคำที่ต้องการจะเน้นให้ผู้อ่านเข้าใจ มาอธิบายหรือขยายความให้ตรงกับความหมายที่ผู้ศึกษาต้องการจะสื่อสาร แต่ถ้าคำศัพท์ดังกล่าวยกมาจากบุคคลอื่นก็ควรที่จะใส่อ้างอิงด้วย และต้องเขียนศัพท์ภาษาอังกฤษกำกับไว้ด้วย เพื่อให้เครดิตแก่บุคคลที่ศึกษามา

หากทำตามเทคนิคต่างๆ ที่ผู้เขียนได้กล่าวไว้ในบทความนี้ ผู้ศึกษาที่พึ่งเริ่มต้นและยังไร้ทิศทางในการเขียนบทที่ 1 ก็จะสามารถนำไปประยุกต์ใช้กับงานวิจัยที่ท่านกำลังเขียนอยู่ได้อย่างถูกต้อง ตามหลักวิชาการ และอาจเป็นแผนนำทางที่ดีในการเริ่มต้นที่จะทำวิทยานิพนธ์ให้ประสบความสำเร็จจนจบการศึกษานี้ได้เลยค่ะ

ช่องทางติดต่อ
Tel: 0924766638 คุณอาจุ้ย
อีเมล: ichalermlarp@gmail.com
LINE: @impressedu
(หยุดทุกวันอาทิตย์)

การออกแบบ แบบสอบถาม_แบบสอบถามความพึงพอใจ_ตั้งคำถามแบบสอบถาม_เทคนิคการสร้างแบบสอบถาม_แบบสอบถามวิจัย_แบบสอบถามงานวิจัย_วิเคราะห์ข้อมูลสถิติ_การวิเคราะห์ข้อมูล_สถิติการวิเคราะห์_วิเคราะห์ spss_โปรแกรม spss_สถิติ t – test แตกต่าง_Save ข้อมูล SPSS_ความแปรปรวนระหว่างกลุ่ม_ความแปรปรวนภายในกลุ่ม_วิเคราะห์ ANOVA_การวิเคราะห์ ANOVA_บริการรับทำวิจัย_รับทำวิจัย_การทำงานวิจัย_บริการรับทำวิจัย.com_การทำ spss

SPSS ไม่ยาก หากเข้าใจและมีเวลา

ในการศึกษางานวิจัยในแต่ละหัวข้อนั้น อาจจำเป็นต้องใช้สถิติขั้นสูงสำหรับการวิเคราะห์ SPSS ข้อมูลทางสถิติในงานวิจัย เช่น สมการพยากรณ์ โดยการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ (Multiple Regression Analysis) เป็นวิธีการวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติเพื่อหาความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรตามกับตัวแปรอิสระ หาความสัมพันธ์ลักษณะทางประชากรศาสตร์กับพฤติกรรมการเลือกซื้อสินค้าต่างๆ

และ วิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติ Factor Analysis เพื่อเป็นการลดรูปตัวแปร สำหรับ วิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติ T-Test , F-Test เพื่อเปรียบเทียบข้อมูลทางสถิติตัวแปรต้นที่มีผลต่อตัวแปรตาม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05 เป็นต้น

วิเคราะห์ข้อมูล SPSS ไม่ยาก หากมีเวลามากพอ

เชื่อว่าหลายๆ ท่าน ก่อนที่จะทำการตัดสินใจเริ่มบริการวิเคราะห์ผลข้อมูล SPSS นั้น หลายคนต่างก็ต้องศึกษาข้อมูลในขั้นตอนบริการ เพื่อให้ได้ผลการวิเคราะห์ข้อมูล SPSS ตามกำหนด รวมถึงประวัติการการบริการของบริษัทฯ เรามาแล้วทั้งนั้น

ซึ่งทางบริษัทฯ เราเข้าใจในความกังวลของทุกท่าน เพราะราคาสำหรับบริการ SPSS นั้นค่อนข้างสูงพอสมควร และต้องเป็นบริการที่น่าเชื่อถือและไว้ใจได้

ซึ่งการวิเคราะห์ผลข้อมูล SPSS นั้นก็ไม่ใช่เรื่องยาก เพราะพื้นฐานในการใช้โปรแกรม SPSS นั้นมีขั้นตอนที่ไม่ยุ่งยากเท่าไหร่ แต่ส่วนใหญ่ที่ใช้ในบริการงานวิจัย งานวิทยานิพนธ์นั้น เป็นการวิเคราะห์ข้อมูลขั้นสูงเกือบทั้งสิ้น

เว้นเสียแต่ว่าคุณมีความเข้าใจในขั้นตอนการวิเคราะห์ข้อมูล SPSS อยู่ก่อนแล้ว  แต่ที่สำคัญคือ เวลา ที่ต้องใช้ในการเก็บข้อมูล เพื่อนำมาประมวลผลในงานวิจัยนั้นๆ ต้องมีมากพอ และยิ่งหากคุณทำงานประจำ คุณอาจจะต้องเสียเวลามากในการความเข้าใจ และออกไปเก็บข้อมูลเพื่อนำมาวิเคราะห์เอง

การวิเคราะห์ข้อมูล SPSS ประเมินราคาจริงตามขั้นตอนและระยะเวลา

จากที่กล่าวมาข้างต้น สำหรับการวิเคราะห์ข้อมูล SPSS นั้น มีขั้นตอนและต้องใช้เวลาในการเก็บข้อมูลและการวิเคราะห์ประมวลผล จึงมีราคาที่ค่อนข้างสูงพอสมควร แต่หากเทียบกับขั้นตอนกับระยะเวลาที่คุณต้องเสียในการวิเคราะห์ข้อมูลเองนั้นถือว่าคุ้มค่ามาก

ทางบริษัทฯ เราสามารถวิเคราะห์ข้อมูลสถิติผ่านโปรแกรม SPSS ในราคาที่สมเหตุสมผล ได้ข้อมูลสถิติที่มีคุณภาพ ถูกต้องตามหลักสถิติ และยังทำให้คุณไม่ต้องเสียเวลาในการศึกษาโปรแกรมในการอ่านผลวิเคราะห์ข้อมูล SPSS ด้วยตนเอง

และไม่ส่งผลต่อหน้าที่การงานประจำต้องเสียเวลาวิเคราะห์ข้อมูล SPSS เป็นอย่างมาก หรืออาจจะทำผิดหลักการวิเคราะห์ข้อมูลสถิติในงานวิจัย และส่งผลให้เสียเวลาในการแก้ไขงานวิจัย งานวิทยานิพนธ์ที่อาจารย์ที่ปรึกษาให้แก้ไขปรับปรุง

สำหรับราคาบริการ SPSS มีเกณฑ์ที่หลากหลายเกณฑ์ โดยทางบริษัทฯ จะประเมินราคาบริการ SPSS ตามขั้นตอนและระยะเวลาตามที่กำหนดเป็นเกณฑ์มาตราฐาน

รับประกันในความเป็นมืออาชีพ ราคาเหมาะสม  และส่งงานตรงตามเวลากำหนด

หากคุณกำลังตัดสินใจสำหรับการบริการ SPSS กับทางบริษัทฯ เรา คุณสามารถมั่นใจและคลายความกังวลต่างๆ ลงได้

เนื่องจากทางบริษัทฯ มีทีมงานที่มีประสบการณ์ในการวิเคราะห์ข้อมูลสถิติ มีความสามารถในการใช้โปรแกรม SPSS ผ่านการฝึกอบรมและการลงมือในการวิเคราะห์ข้อมูลงานวิจัยที่หลากหลาน ซึ่งรับรองได้ว่าคุณจะได้ผลการวิเคราะห์งานวิจัยที่มีวามถูกต้องตามหลักการวิเคราะห์ข้อมูลสถิติ SPSS สำหรับงานวิจัย หรืองานวิทยานิพนธ์ และตรงตามกำหนดระยะเวลาอย่างแน่นอน

ทางบริษัทฯ บริการ SPSS การันตีผลงานวิจัยทุกชิ้นงาน ทางบริษัทฯ เรามอบสิทธิแก้ไขงานฟรี 2 ครั้งต่อการวิเคราะห์ข้อมูล กรณีแก้ไขผลงานวิจัยให้เป็นครั้งที่ 3 ทางเราจะประเมินการตามเกณฑ์ราคาที่ตัวกำหนดตามจริง

ช่องทางติดต่อ รับทำวิจัย
Tel: 0924766638
อีเมล: ichalermlarp@gmail.com
LINE: @impressedu
(หยุดทุกวันอาทิตย์)

รับทำวิจัย รับทำวิทยานิพนธ์ รับทำ is รับทำดุษฎีนิพนธ์
สแกนคิวอาร์โค้ด
เพื่อติดต่อรับทำวิจัย